“ผิวมัน รูขุมขนกว้าง” จัดเป็นปัญหาโลกแตกของหลาย ๆ คนเลยครับ คนไข้หลายคนมาบอกหมอว่าบางครั้งยังไม่ทันทำอะไรหน้าก็มันเยิ้มจนแทบทอดไข่ได้เลยครับหมอ
พอไปล้างหน้าแป๊บเดียวหน้าก็กลับมามันอีก นี่แหละหนอ…คนหน้ามัน อยู่เฉย ๆ เค้าก็มัน T T
แล้วผิวที่มันเกินปกติ ก็มักตามมาด้วย สิวทุกประเภท รูขุมขนกว้าง ดูโทรม หมองคล้ำ เสียบุคลิก T T
วันนี้เราจะไปดูกันว่า “หน้ามัน” เกิดจากอะไร วิธีป้องกันผิวมันทำได้อย่างไร และคุณหมอมีวิธีจัดการปัญหาหน้ามัน รูขุมขนกว้างได้อย่างไรบ้างครับ
สรรสาระโดย นพ.วรุตม์ คุณาฤทธิพล (หมอช้อป)
– ปริญญาโท ตจวิทยา (ผิวหนัง)
– Dermatology Clinical Observership,
Jutendo University Hospital , Tokyo
– Fellowship in Anti-Aging Medicine
ผิวมัน (Oily Seborrhea) เป็นอย่างไร
“ผิวมัน” ใช้เพื่ออธิบายสภาพผิวที่มีการผลิตความมันในปริมาณที่มากเกินไปหรือที่เรียกว่า “seborrhea” โดยจะมีลักษณะ เงา มัน และสามารถมองเห็นรูขุมขนได้ชัดเจน มักตามมาด้วย สิวทุกประเภท รูขุมขนกว้าง ดูโทรม หมองคล้ำ ใบหน้ามันเยิ้ม โดยต่อมผลิตไขมัน (Sebaceous Gland) จะผลิตน้ำมัน ซึ่งต่อมไขมันนี้จะอยู่ติดกับขนและระบายออกมาทางรูขุมขน ทำให้หน้ามันร่วมกับมีรูขุมขนกว้าง บางครั้งหากเกิดการอุดตันจะมีสิวร่วมด้วยได้ครับ
ปกติต่อมไขมันในผู้ใหญ่ 1 ต่อม สามารถผลิตน้ำมันได้ถึง 1 มิลลิกรัม / พื้นที่ 10 ตารางเซนติเมตร (ผลิตทุก 3 ชั่วโมง) เลยนะครับ ดังนั้นคนที่มีภาวะหน้ามันมากต่อมไขมันก็จะผลิตน้ำมันเยอะกว่าปกติ ทำให้หน้ามันเยิ้มได้ทั้งหน้าเลยครับ
กลไกการเกิดผิวมัน
การผลิตไขมันที่ผิว จะผลิตโดยเซลล์ผลิตไขมัน (Sebocyte) ซึ่งจะสร้างน้ำมันที่เรียกว่า “Sebum” ออกมาที่ผิว โดย Sebum จะเกิดจากการรวมตัวของไขมันโมเลกุลขนาดเล็กหลายชนิด เช่น Wax Esters , กรดไขมันขนาดเล็ก (Free Fatty acid หรือ FFA) , Triglycerides และ Squalene เป็นต้น
ปัจจุบันเริ่มมีการทดลองหายาชนิดใหม่เพื่อช่วยลดการเกิดหน้ามัน เช่น ยา Olumacostat glasaretil (OG) ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ acetyl coenzyme-a carboxylase ซึ่งเป็นตัวตั้งต้นในการผลิตไขมันในเซลล์ผลิตไขมัน (Sebocyte) ที่ทำให้เราหน้ามันครับ แต่น่าเศร้าเพราะในประเทศไทยตอนนี้ยังไม่มียาชนิดนี้ครับ
สาเหตุของผิวมัน
ความมันบนใบหน้าเกิดจากต่อมไขมันใต้ผิวหนังทำงานมากผิดปกติ ซึ่งก็มีหลายสาเหตุที่สามารถส่งผลให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมาจำนวนมาก ได้แก่
1. กรรมพันธุ์ (Genetic)
หากมีพ่อแม่พี่น้องหน้ามัน เรามักจะมีผิวมันด้วยครับ
2. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และความไม่สมดุลขอฮอร์โมน (Hormonal Imbalance)
ฮอร์โมนบางประเภทกระตุ้นให้ต่อมไขมัน ผลิตไขมันเพิ่มมากขึ้น เช่น
ช่วงเริ่มวัยรุ่น —- ฮอร์โมนเริ่มมีการแกว่งไปมาสูง หน้าจึงมันเพิ่มมากขึ้นทั้งที่ตอนเด็กไม่เคยหน้ามันเลย
ฮอร์โมนเพศชาย Androgen —- ผู้ชายจึงมักหน้ามันมากกว่าผู้หญิง
ฮอร์โมน Progesterone —- ผู้หญิงช่วงก่อนมีประจำเดือน หน้าจะมันเพิ่มขึ้นได้
3. ยาบางชนิด (Drugs) เช่น
ยากันชักบางชนิด เช่น Phenytoin , Carbamazepine , Valpoic acid
ยารักษาวัณโรค เช่น Isoniazid
4. ความเครียด (Stress)
5. อาหารรสหวาน ของมัน ของทอด(High glycemic index foods)
6. เครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดการอุดตัน และระคายเคือง (Make up)
7. สภาพอากาศร้อนชื้น (Summer seasons and Humid climate)
วิธีแก้ปัญหาหน้ามัน
อย่างไรก็ตาม สภาพผิวของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันออกไป ครีมบางตัวทาไปอาจไม่ถูกจริตกับผิวหน้าเรา แต่อาจไปดีกับผิวเพื่อนเราแทน บางครั้งเราทาไปอาจหน้ามันหรือกลายเป็นสิวหนักกว่าเดิมขึ้นมาได้ หรือแม้แต่การรักษาต่าง ๆ ก็อาจต้องใช้การรักษาต่างกันออกไปในแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน
ฉะนั้นขั้นแรกถ้าเราลองพยายามทั้งปรับการทาครีมแล้ว ปรับพฤติกกรรมก็แล้ว แต่อาการหน้ามันยังไม่ดีขึ้น แนะนำว่าควรเข้ามาปรึกษาคุณหมอที่คลินิกนะครับ เพื่อที่เราจะได้หาแนวทางการรักษาร่วมกันที่เหมาะกับเรา รวดเร็ว และปลอดภัยที่สุดนั่นเองครับ
บทความหน้า หมอจะเผยวิธีการรักษาในคลินิกสำหรับคนหน้ามัน และรูขุมขนกว้าง ว่าส่วนใหญ่เค้านิยมใช้วิธีการรักษาอย่างไร สำหรับคนที่ไม่ต้องการกินยา หรือ ทาครีม ครับ
>>>คลิกที่นี่<<<
สาระความงามที่เกี่ยวข้อง
ขอบคุณแหล่งอ้างอิงจาก
- Endly, D. C., & Miller, R. A. (2017). Oily Skin: A review of Treatment Options. The Journal of clinical and aesthetic dermatology, 10(8), 49–55.
- Shuo, L., Ting, Y., KeLun, W., Rui, Z., Rui, Z., & Hang, W. (2019). Efficacy and possible mechanisms of botulinum toxin treatment of oily skin. Journal of cosmetic dermatology, 18(2), 451–457. https://doi.org/10.1111/jocd.12866
- Sakuma, T. H., & Maibach, H. I. (2012). Oily skin: an overview. Skin pharmacology and physiology, 25(5), 227–235. https://doi.org/10.1159/000338978
- Hong, J. Y., Park, S. J., Seo, S. J., & Park, K. Y. (2020). Oily sensitive skin: A review of management options. Journal of cosmetic dermatology, 19(5), 1016–1020. https://doi.org/10.1111/jocd.13347
- Puzenat, E., Riou-Gotta, M. O., Messikh, R., & Humbert, P. (2010). Dermatoses faciales: acné, rosacée, dermatite séborrhéique [Facial dermatosis: acne, rosacea, seborrhoeic dermatitis]. La Revue du praticien, 60(6), 849–855.
- Clark, G. W., Pope, S. M., & Jaboori, K. A. (2015). Diagnosis and treatment of seborrheic dermatitis. American family physician, 91(3), 185–190.
- Borda, L. J., Perper, M., & Keri, J. E. (2019). Treatment of seborrheic dermatitis: a comprehensive review. The Journal of dermatological treatment, 30(2), 158–169. https://doi.org/10.1080/09546634.2018.1473554
- Ovhal, Ajay & Jerajani, Hemangi & R.s, Dhurat. (2018). A comparative study of sebum secretion rates and skin types in individuals with and without acne. 7. 88-92.
- Baumann, Leslie. (2008). Understanding and Treating Various Skin Types: The Baumann Skin Type Indicator. Dermatologic clinics. 26. 359-73, vi. 10.1016/j.det.2008.03.007.
- Rose, A. E., & Goldberg, D. J. (2013). Safety and efficacy of intradermal injection of botulinum toxin for the treatment of oily skin. Dermatologic surgery : official publication for American Society for Dermatologic Surgery [et al.], 39(3 Pt 1), 443–448. https://doi.org/10.1111/dsu.12097
- Shah A. R. (2008). Use of intradermal botulinum toxin to reduce sebum production and facial pore size. Journal of drugs in dermatology : JDD, 7(9), 847–850.
- Kesty, K., & Goldberg, D. J. (2021). A Randomized, Double-Blinded Study Evaluating the Safety and Efficacy of AbobotulinumtoxinA Injections for Oily Skin of the Forehead: A Dose-Response Analysis. Dermatologic surgery : official publication for American Society for Dermatologic Surgery [et al.], 47(1), 56–60. https://doi.org/10.1097/DSS.0000000000002494
- Min P, Xi W, Grassetti L, Trisliana L, et al. Sebum production alteration after botulinum toxin type A injections for the treatment of forehead rhytides: a prospective randomized double-blind dose-comparative clinical investigation. Aesthet Surg J 2015;35:600–10.
- Zheng Jun Li, et al. Regulation of lipid production by acetylcholine signalling in human sebaceous glands. Journal of Dermatological Science. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0923181113002193