จากบทความก่อนหน้าที่หมอพูดถึงสาเหตุและวิธีแก้ไขสำหรับคนที่มีปัญหาหน้ามัน รูขุมขนกว้าง ซึ่งคนไข้ที่มีอาการหนักมากอาจต้องพึ่งยากินยาทาร่วมกัน <<คลิกดู สาเหตุหน้ามัน รูขุมขนกว้าง>>
แต่หากถามว่าแล้วที่เดอะ พรีม่า คลินิก มีการรักษาแบบไหนที่ไม่ต้องกินยาไหม เพราะบางคนก็กลัวผลข้างเคียงของยา
คำตอบคือ “มีครับ” และฮิตมากด้วย 🙂 เพราะเห็นผลเร็วกว่าการทาหรือการกินยา เหมาะกับสังคมเร่งรีบในปัจจุบันเลยเชียว
เราไปเจาะลึกแต่ละวิธีกันครับ…
สรรสาระโดย นพ.วรุตม์ คุณาฤทธิพล (หมอช้อป)
– ปริญญาโท ตจวิทยา (ผิวหนัง)
– Dermatology Clinical Observership,
Jutendo University Hospital , Tokyo
– Fellowship in Anti-Aging Medicine
1 . ฉีดโบท็อกซ์ (B-TOX injections) ลดหน้ามัน กระชับรูขุมขน
หลายคนคงมีเครื่องหมายคำถามลอยขึ้นมาบนหัวแล้วสิ …..เค้าฉีดโบท็อกซ์ลดริ้วรอย ลดกราม กันไม่ใช่เหรอหมอ ??
หมอขอบอกเลยครับว่าการฉีดโบท็อกซ์ (B-TOX injections) สามารถช่วยลดหน้ามัน กระชับรูขุมขน ได้จริงครับ โดยมีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้ง Acetylcholine ที่ไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมันครับ ซึ่งมีงานวิจัยจากทั่วโลกในการใช้โบท็อกซ์ฉีดลดหน้ามัน กระชับรูขุมขน ตัวอย่างดังภาพครับ
ภาพตัวอย่างการฉีดโบท๊อกซ์ (B-TOX injections) เพื่อลดหน้ามัน กระชับรูขุมขนและติดตามผลที่ 4 สัปดาห์ (1เดือน) หลังฉีด ผลพบว่าหน้ามันลดลง รูขุมขนกระชับขึ้นชัดเจน
มีอีกตัวอย่างงานทดลองงานหนึ่งที่น่าสนใจมากครับโดยใช้การฉีดโบท๊อกซ์ (B-TOX injections) ลดหน้ามัน กระชับรูขุมขนและติดตามผลที่ 1 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์หลังฉีด ได้ผลดังกราฟด้านล่างครับ
โดยงานทดลองนี้มีรายละเอียดดังนี้ครับ
ผู้เข้าร่วมงานทดลอง 20 คน (เพศชาย 6 คน เพศหญิง 14 คน) ทำการทดลองที่ประเทศเกาหลีใต้
เป็นคนผิวมัน 10 คน และ ผิวแห้ง/ผิวปกติ 10 คน
แบ่งการรักษาครึ่งใบหน้าฉีดโบท๊อกซ์ (B-TOX) อีกครึ่งซีกฉีดน้ำเกลือเปล่าๆ (Control : Normal Saline) โดยขณะทำการทดลองเพื่อไม่ให้เกิดการลำเอียงในการแปลผล จะไม่มีใครทราบว่าด้านไหนใช้สารใดฉีดครับ (ทั้งแพทย์และตัวคนไข้)
ผลการทดลองตามกราฟเปรียบเทียบการฉีดโบท็อกซ์เพื่อ 1.ลดหน้ามัน(ภาพบน , A) และ 2. ลดขนาดรูขุมขน(ภาพล่าง , B)
พบว่าผิวด้านที่ฉีดโบท็อกซ์
1. หน้ามันลดลงจริง
2.รูขุมขนกระชับขึ้นจริง
โดยเห็นเริ่มเห็นผลตั้งแต่ 1 สัปดาห์หลังฉีด และผลสูงสุดที่ 4 สัปดาห์หลังฉีด มีรายละเอียดดังนี้
- ผลเรื่อง “ผิวมัน”
ในคนที่ผิวมัน : ด้านที่ฉีดโบท็อกซ์ ช่วยทำให้หน้ามันลดลงประมาณ 30 % ที่ 4 สัปดาห์หลังฉีด (ด้านที่ฉีดน้ำเกลือไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลง)
ในคนที่ผิวแห้ง/ผิวปกติ : ด้านที่ฉีดโบท็อกซ์ ช่วยทำให้หน้ามันลดลงเพียงเล็กน้อย ที่ 4 สัปดาห์หลังฉีด ไม่ค่อยชัดเจนมากเมื่อเทียบกับผู้ที่มีผิวมัน
ผลเรื่อง “รูขุมขนกว้าง”
ในคนที่ผิวมัน : ด้านที่ฉีดโบท็อกซ์ ช่วยทำให้รูขุมขนกระชับขึ้นประมาณ 18% ที่ 4 สัปดาห์หลังฉีด (ด้านที่ฉีดน้ำเกลือไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลง)
ในคนที่ผิวแห้ง/ผิวปกติ : ด้านที่ฉีดโบท็อกซ์ ที่ 4 สัปดาห์หลังฉีด ผลเรื่องกระชับรูขุมขนไม่ค่อยชัดเจนมากเมื่อเทียบกับผู้ที่มีผิวมัน
สรุปคือ การฉีดโบท็อกซ์ (B-TOX injections) ลดหน้ามัน กระชับรูขุมขนได้จริง และเหมาะกับผู้ที่มีหน้ามันมาก รูขุมขนกว้าง แต่ไม่ค่อยมีเวลามาหาหมอครับ (โดยฉีดเพียง 1 ครั้ง จะเริ่มเห็นผลประมาณสัปดาห์ที่ 1- 2 หลังฉีด และ สามารถช่วยลดหน้ามันได้ยาวนานเฉลี่ยประมาณ 3-4 เดือนเลยครับ)
2. การฉายแสง Photodynamic Therapy (PDT)
3. เลเซอร์ (Lasers)
เช่น การใช้ Picosecond laser ข้อดีคือนอกจากยิงเพื่อกระชับรูขุมขน แล้วนั้นยังสามารถช่วยกระตุ้นคอลลาเจนใต้ชั้นผิวได้ ทำให้รูขุมขนเล็กลง ใบหน้าขาวสว่างใส และ ริ้วรอยเส้นเล็กๆ ตื้นขึ้นได้ในเวลาเดียวกันครับ
อย่างไรก็ดี แต่ละวิธีก็เหมาะกับสภาพผิว การใช้ชีวิตประจำวันของคนไข้แต่ละคนที่แตกต่างกัน
ดังนั้น หมอแนะนำว่าควรเข้ามาปรึกษาคุณหมอที่คลินิก เพื่อที่เราจะได้หาแนวทางการรักษาร่วมกันที่เหมาะกับเรา รวดเร็ว และปลอดภัยที่สุดนั่นเองครับ
ขอบคุณแหล่งอ้างอิงจาก
- Endly, D. C., & Miller, R. A. (2017). Oily Skin: A review of Treatment Options. The Journal of clinical and aesthetic dermatology, 10(8), 49–55.
- Shuo, L., Ting, Y., KeLun, W., Rui, Z., Rui, Z., & Hang, W. (2019). Efficacy and possible mechanisms of botulinum toxin treatment of oily skin. Journal of cosmetic dermatology, 18(2), 451–457. https://doi.org/10.1111/jocd.12866
- Sakuma, T. H., & Maibach, H. I. (2012). Oily skin: an overview. Skin pharmacology and physiology, 25(5), 227–235. https://doi.org/10.1159/000338978
- Hong, J. Y., Park, S. J., Seo, S. J., & Park, K. Y. (2020). Oily sensitive skin: A review of management options. Journal of cosmetic dermatology, 19(5), 1016–1020. https://doi.org/10.1111/jocd.13347
- Puzenat, E., Riou-Gotta, M. O., Messikh, R., & Humbert, P. (2010). Dermatoses faciales: acné, rosacée, dermatite séborrhéique [Facial dermatosis: acne, rosacea, seborrhoeic dermatitis]. La Revue du praticien, 60(6), 849–855.
- Clark, G. W., Pope, S. M., & Jaboori, K. A. (2015). Diagnosis and treatment of seborrheic dermatitis. American family physician, 91(3), 185–190.
- Borda, L. J., Perper, M., & Keri, J. E. (2019). Treatment of seborrheic dermatitis: a comprehensive review. The Journal of dermatological treatment, 30(2), 158–169. https://doi.org/10.1080/09546634.2018.1473554
- Ovhal, Ajay & Jerajani, Hemangi & R.s, Dhurat. (2018). A comparative study of sebum secretion rates and skin types in individuals with and without acne. 7. 88-92.
- Baumann, Leslie. (2008). Understanding and Treating Various Skin Types: The Baumann Skin Type Indicator. Dermatologic clinics. 26. 359-73, vi. 10.1016/j.det.2008.03.007.
- Rose, A. E., & Goldberg, D. J. (2013). Safety and efficacy of intradermal injection of botulinum toxin for the treatment of oily skin. Dermatologic surgery : official publication for American Society for Dermatologic Surgery [et al.], 39(3 Pt 1), 443–448. https://doi.org/10.1111/dsu.12097
- Shah A. R. (2008). Use of intradermal botulinum toxin to reduce sebum production and facial pore size. Journal of drugs in dermatology : JDD, 7(9), 847–850.
- Kesty, K., & Goldberg, D. J. (2021). A Randomized, Double-Blinded Study Evaluating the Safety and Efficacy of AbobotulinumtoxinA Injections for Oily Skin of the Forehead: A Dose-Response Analysis. Dermatologic surgery : official publication for American Society for Dermatologic Surgery [et al.], 47(1), 56–60. https://doi.org/10.1097/DSS.0000000000002494
- Min P, Xi W, Grassetti L, Trisliana L, et al. Sebum production alteration after botulinum toxin type A injections for the treatment of forehead rhytides: a prospective randomized double-blind dose-comparative clinical investigation. Aesthet Surg J 2015;35:600–10.
- Zheng Jun Li, et al. Regulation of lipid production by acetylcholine signalling in human sebaceous glands. Journal of Dermatological Science. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0923181113002193