บางท่านอาจจะเคยสงสัยหรือได้ยินมาว่าหากเราฉีดฟิลเลอร์ แล้วหยุดฉีดไปหน้าเราจะแก่กว่าเดิม!!! ซึ่งชัวร์หรือมั่ว? หมอจะมาเฉลยในวันนี้ครับ
สรรสาระโดย นพ.วรุตม์ คุณาฤทธิพล (หมอช้อป)
– ปริญญาโท ตจวิทยา (ผิวหนัง)
– Dermatology Clinical Observership,
Jutendo University Hospital , Tokyo
– Fellowship in Anti-Aging Medicine
ฟิลเลอร์ คืออะไร ?
ฟิลเลอร์ (Filler) คือสารเติมเต็มที่ปลอดภัย ซึ่งส่วนมากคือสาร Hyaluronic acid (เป็นสารที่มีในผิวหนังของเราอยู่แล้ว) ช่วยทำให้ใบหน้าเต่งตึง ผิวอุ้มน้ำ ดูมีน้ำมีนวล ริ้วรอยร่องลึกตื้นขึ้นได้ทันที และยังช่วยเติมเส้นใยคอลลาเจนที่หายไปเมื่อเราอายุมากขึ้นให้กลับมาดูเด็กอ่อนกว่าวัยอีกครั้ง
ภาพแสดงความเปลี่ยนแปลงของใบหน้าเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ชั้นไขมันมีการฝ่อตัว กล้ามเนื้อหย่อนและฟีบลง กระดูกมีการยุบตัว ทำให้เกิดร่องใต้ตา ร่องแก้ม ร่องน้ำหมาก ใบหน้าหย่อนคล้อย
ฉีดฟิลเลอร์ 1 ครั้ง อยู่ได้นานขนาดไหน ?
คำตอบคือ ขึ้นกับชนิด และ ขนาดโมเลกุลของฟิลเลอร์ที่เราใช้ในแต่ละบริเวณ บางชนิดอาจอยู่ได้ 6-8 เดือน หรือ 1-2 ปี เป็นต้น โดยฟิลเลอร์ที่ได้มาตรฐาน และผ่าน อย. นั้น สามารถสลายได้เอง ไม่มีทางทิ้งเป็นก้อนแน่นอน
ภาพแสดงตัวอย่างการฉีดฟิลเลอร์บริเวณหลังมือของผู้หญิงอายุ 62 ปี ที่มีปัญหามือเหี่ยวย่น แห้ง มีริ้วรอยตามวัยโดยฉีดฟิลเลอร์ปริมาณ 1.5 ซีซี บริเวณหลังมือแต่ละข้าง
ภาพ a ก่อนทำการรักษา
ภาพ b หลังทำการรักษา 6 สัปดาห์ และ
ภาพ c หลังทำการรักษา 6 เดือน จะเห็นได้ว่าผิวหนังหลังฉีดฟิลเลอร์ ช่วยลดริ้วรอยผิว อุ้มน้ำ ดูมีน้ำมีนวล
ยิ่งฉีดฟิลเลอร์บ่อย หน้ายิ่งเด็ก ผิวยิ่งดี
ยังมีอีกหลากหลายงานวิจัยที่สนับสนุนว่าการฉีดฟิลเลอร์ชนิด Hyaluronic acid หรือ HA (ที่ได้มาตรฐาน) อย่างสม่ำเสมอ กระตุ้นคอลลาเจนที่หายไปจากผิวหนังของเราได้ โดยฟิลเลอร์จะช่วยกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ที่ผลิตคอลลาเจน (High fibroblast cell proliferation) และเพิ่มจำนวนเส้นใยคอลลาเจน (Collagen type 1) ในผิวหนังของเราซึ่งมักหายไปเมื่ออายุเพิ่มขึ้น
ดังนั้นการฉีดฟิลเลอร์นอกจากช่วยเติมเต็มใบหน้าจากโครงสร้างที่เสื่อมตามอายุแล้ว ยังช่วยทำให้ใบหน้าและผิวหนังบริเวณที่ทำการรักษาดูอ่อนเยาว์ได้อีกครั้งจากคอลลาเจนที่ถูกสร้างเพิ่ม นั่นแปลว่า ยิ่งฉีดฟิลเลอร์บ่อยยิ่งหน้าเด็กนะครับ
หมอมีรูปตัวอย่างงานวิจัยหนึ่งที่น่าสนใจมาก ทำการทดลองที่ประเทศบราซิล โดยฉีดฟิลเลอร์ชนิด Hyaluronic Acid หรือ HA แล้วติดตาม 3 ช่วง คือผลที่ 15 วัน (ครึ่งเดือน), 30 วัน (1 เดือน) และ 60 วัน (2 เดือน) หลังฉีด
โดยทำการตรวจชิ้นเนื้อของผิวหนังทุกครั้ง ผลพบว่ามีกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ที่ผลิตคอลลาเจน (High fibroblast cell proliferation) และเพิ่มจำนวนเส้นใยคอลลาเจน (Collagen type 1) ในผิวหนังของเราได้จริงครับ
สีชมพูในภาพ คือ เส้นใยคอลลาเจน มีจำนวนเพิ่มขึ้นจริง
ลูกศรที่ชี้สีม่วง คือ โมเลกุลของฟิลเลอร์ซึ่งสามารถสลายได้เองตามธรรมชาติ ดังภาพครับ
ภาพตัดชิ้นเนื้อที่ผิวหนัง (Dermal skin biosies) ที่ 15 วัน (ครึ่งเดือน) หลังฉีดฟิลเลอร์ ผลพบว่า
สีชมพู คือ เส้นใยคอลลาเจน มีจำนวนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ลูกศรที่ชี้สีม่วง คือ โมเลกุลของฟิลเลอร์ซึ่งสามารถสลายได้เองตามธรรมชาติ
ภาพตัดชิ้นเนื้อที่ผิวหนัง (Dermal skin biosies) ที่ 30 วัน (1 เดือน) หลังฉีดฟิลเลอร์ ผลพบว่า
สีชมพู คือ เส้นใยคอลลาเจน มีจำนวนเพิ่มขึ้นปานกลาง
ลูกศรที่ชี้สีม่วง คือ โมเลกุลของฟิลเลอร์ซึ่งสามารถสลายได้เองตามธรรมชาติ เริ่มมีการกลืนรวมกับเนื้อผิว
ขอบคุณภาพจาก https://bit.ly/2PEOBcV
ภาพตัดชิ้นเนื้อที่ผิวหนัง (Dermal skin biosies) ที่ 60 วัน (2 เดือน) หลังฉีดฟิลเลอร์ ผลพบว่า
สีชมพู คือ เส้นใยคอลลาเจน มีจำนวนเพิ่มขึ้นจำนวนมาก
ลูกศรที่ชี้สีม่วง คือ โมเลกุลของฟิลเลอร์ซึ่งสามารถสลายได้เองตามธรรมชาติ กลืนรวมกับเนื้อผิวอย่างเป็นธรรมชาติ
แล้วถ้าหยุดฉีดฟิลเลอร์ หรือ ฟิลเลอร์สลายแล้ว หน้าจะแก่กว่าเดิมมั้ย ?
ไม่แก่กว่าเดิมแน่นอนครับ เพียงแต่ใบหน้าจะกลับสู่อายุจริงในช่วงก่อนฉีด เนื่องจากฟิลเลอร์ออกฤทธิ์ได้นาน จึงอาจทำให้บางท่านลืมผิวหรือใบหน้าที่แท้จริงของตนเองในช่วงก่อนฉีดไปได้ครับ
ฉะนั้น ที่บอกว่า หยุดฉีดฟิลเลอร์แล้วหน้าจะแก่กว่าเดิมนั้น
คำตอบคือ ไม่จริงครับ
ทั้งนี้ทั้งนั้น ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้มีประสบการณ์ และ สถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน รวมถึงตรวจสอบฟิลเลอร์ของแท้ก่อนฉีดทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย เช่น ฟิลเลอร์ปลอม ซึ่งอาจทำให้เกิดเป็นก้อนที่ไม่สลาย เกิดการแพ้ หรือ ติดเชื้อรุนแรง เป็นต้น
เพียงเท่านี้เราก็จะดูดีได้อย่างปลอดภัยครับ
สาระความงามที่เกี่ยวข้อง
ขอบคุณแหล่งอ้างอิงจาก
- Kühne, U., & Imhof, M. (2012). Treatment of the ageing hand with dermal fillers. Journal of cutaneous and aesthetic surgery, 5(3), 163– doi:10.4103/0974-2077.101369
- Röck K, Fischer K, Fischer JW. Hyaluronan used for intradermal injections is incorporated into the pericellular matrix and promotes proliferation in human skin fibroblasts in vitro. Dermatology. 2010;221:219–
- Di Pietro A, Di Sante G. Recovery of skin elasticity and turgor by intradermal injection of hyaluronic acid (Ial-System®) by the cross-linked technique. G Ital Dermatol Venereol. 2001;136:187–
- Sundaram H, Voigts B, Beer K, Meland M. Comparison of the rheological properties of viscosity and elasticity in two categories of soft tissue fillers: calcium hydroxylapatite and hyaluronic acid. Dermatol Surg. 2010;36:1859–
- Alam M, Gladstone H, Kramer EM, Murphy JP, Jr, Nouri K, Neuhaus IM, et al. ASDS guidelines of care: Injectable fillers. Dermatol Surg. 2008;34(Suppl 1):S115–
- Croce, M. A., Dyne, K., Boraldi, F., Quaglino, D., Jr, Cetta, G., Tiozzo, R., & Pasquali Ronchetti, I. (2001). Hyaluronan affects protein and collagen synthesis by in vitro human skin fibroblasts. Tissue & cell, 33(4), 326–331. https://doi.org/10.1054/tice.2001.0180
- Bernard, E., Hornebeck, W., & Robert, L. (1994). Effect of hyaluronan on the elastase-type activity of human skin fibroblasts. Cell biology international, 18(10), 967–971. https://doi.org/10.1006/cbir.1994.1017
- Robert, L., Robert, A. M., & Renard, G. (2010). Biological effects of hyaluronan in connective tissues, eye, skin, venous wall. Role in aging. Pathologie-biologie, 58(3), 187–198. https://doi.org/10.1016/j.patbio.2009.09.010
- Cabral, L., Teixeira, L. N., Gimenez, R. P., Demasi, A., de Brito Junior, R. B., de Araújo, V. C., & Martinez, E. F. (2020). Effect of Hyaluronic Acid and Poly-L-Lactic Acid Dermal Fillers on Collagen Synthesis: An in vitro and in vivo Study. Clinical, cosmetic and investigational dermatology, 13, 701–710. https://doi.org/10.2147/CCID.S266015
- Röck, K., & Fischer, J. W. (2011). Rolle der extrazellulären Matrix bei der extrinsischen Hautalterung [Role of the extracellular matrix in extrinsic skin aging]. Der Hautarzt; Zeitschrift fur Dermatologie, Venerologie, und verwandte Gebiete, 62(8), 591–597. https://doi.org/10.1007/s00105-011-2133-x