August 20, 2021

สิวจากแมสก์…ปัญหาผิวในยุค New Normal

สิวจากแมสก์ หรือ “Maskne” คือ “Mask + Acne” ซึ่งแปลว่า สิวที่เกิดจากหน้ากากอนามัย

ยิ่งในช่วงที่เราต้องใส่แมสก์เพื่อป้องกันตัวเองจากฝุ่นและเชื้อไวรัส 🦠 ปัญหาสิวจากการใส่แมสก์ก็ยิ่งพบมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งหากใครที่มีผิวบอบบาง แพ้ง่ายก็ยิ่งมีโอกาสเกิดสสิวจากหน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นได้อีก 😰

🧑‍⚕หลายท่านที่มาหาหมอ พบว่ามีปัญหาเหล่านี้เป็นจำนวนมาก บางท่านทั้งทายามาแล้ว ใช้ครีมมาหลายชนิดก็ไม่ดีขึ้น อาจเป็นเพราะยังรักษาได้ไม่ตรงจุด วันนี้เรามาทำความรู้จักกันครับว่า Maskne 😷คืออะไร เกิดจากอะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไรกันครับ

สรรสาระโดย 👨🏻‍⚕️ นพ.วรุตม์ คุณาฤทธิพล (หมอช้อป)
– ปริญญาโท ตจวิทยา (ผิวหนัง)
– Dermatology Clinical Observership,
Jutendo University Hospital , Tokyo
– Fellowship in Anti-Aging Medicine

สิวจากแมสก์ ต่างจาก สิวทั่วไปอย่างไร ?

สิวจากหน้ากาก (Maskne) 
🔹️คือ สิวที่เกิดจาการเสียดสี ความอับชื้นจากการใส่แมสก์

🔹️ Maskne จะมีลักษณะเป็นสิวอุดตันซึ่งมีลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เมื่อใช้มือลูบผิวจะรู้สึกได้ว่าผิวไม่เรียบ และอาจเกิดสิวอักเสบ สิวหัวหนองเกิดขึ้นตามมาได้ ในบริเวณเดียวกันกับบริเวณที่ผิวเสียดสีกับแมสก์นั่นเองครับ

สิวทั่วไป (Acne Vulgaris)

🔹️คือ สิวที่เกิดจากการอักเสบของหน่วยรูขนและต่อมไขมัน (Pilosebaceous unit) ใต้ผิวหนัง

🔹️สาเหตุมีหลากหลายไม่เฉพาะเจาะจง อาจเกิดได้จากสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน 😤 กรรมพันธุ์👨‍👩‍👧‍👦  การใช้ยา💊 หรือสารเคมีบางชนิด 🧪 การใช้เครื่องสำอาง 💄 สภาพผิวหน้าและความมันบนใบหน้า เป็นต้น
—————————————–
สิวทั้ง 2 ประเภทมีวิธีการรักษาแตกต่างกันครับ‼️ 

ซึ่งบางคนที่มีทั้งสิวจากหน้ากาก (Maskne) และ สิวทั่วไป (Acne Vulgaris) การรักษาก็จะเข้มข้นขึ้นและใช้เวลาในการรักษาเพิ่มขึ้นด้วยนั่นเองครับ

สาเหตุของการเกิดสิวจากแมสก์ (Maskne)

สิวจากหน้ากาก หรือ Maskne เกิดจาก 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่

1.การเสียดสีของหน้ากากอนามัยกับผิว (Acne mechanica) 😷

🔸 หากผิวหน้ากากไม่เรียบ มีการกดทับ มีการเสียดสีกับผิวเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้ผิวระคายเคือง เกิดการอักเสบตามมาและทำให้เกิดเป็นสิว

🔸 สิวจึงมักเกิดบริเวณที่ใส่แมสก์ เช่น แก้ม คาง กรอบหน้า สันจมูก เป็นต้น
—————————————–
2. ความชื้น ความร้อน 🥵 และ แบคทีเรีย🦠 (Moisture, Humid environment and Bacterial overgrowth)

🔸 การใส่แมสก์เป็นระยะเวลานานจะมีการหายใจเข้าออกตลอดเวลา ซึ่งทำให้ผิวหนังเกิดความชื้น ร่วมกับอากาศร้อนชื้นของเมืองไทย ทำให้ผิวหนังยิ่งเกิดความชื้นเพิ่มมากขึ้นจนเกิดการอุดตันของผิว

🔸 ซึ่งความชื้นนั้นจะทำให้แบคทีเรียบนผิวเกิดการแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้น และก่อให้เกิดปัญหาสิวตามมานั่นเองครับ
—————————————–
3. การอุดตัน (Clogged Pores) เช่น จากการแต่งหน้า (Make up) น้ำมัน (Oil) และ เหงื่อ (Sweat) 🥵💄

🔸 การใส่แมสก์เป็นระยะเวลานานทำให้ไม่เกิดการระบายของอากาศ ผิวหนังระบายของเสียได้ไม่ดีทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนง่ายและเกิดเป็นปัญหาสิวตามมานั่นเอง

🔸 อีกหนึ่งสาเหตุที่พบบ่อย คือ “การแต่งหน้า💄” เพราะการแต่งหน้าภายใต้แมสก์ เพิ่มโอกาสในการทำให้เกิดรูขุมขนอุดตันและเกิดเป็นสิวได้ครับ
—————————————–
4.ผิวแพ้หรือระคายเคืองจากสารบางชนิดบนแมสก์ 🤯 (Sensitive or allergy to the material on mask)

🔸 สารที่พบว่าแพ้ได้บ่อย เช่น Formaldehyde บนเนื้อผ้าของแมสก์ สายรัดแมสก์ กาวบางชนิด เช่น Latex เป็นต้น

วิธีป้องกันสิวจากแมสก์ (Maskne)

วิธีป้องกันสิวจากแมสก์ ⁉️

วิธีง่ายที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงสาเหตุเหล่านั้น แต่ในวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ปัจจุบัน จะไม่ให้ใส่แมสก์เลยก็คงเป็นไปไม่ได้ครับ (เพราะเราต้องกลัวโควิดมากกว่าสิวครับ)

ดังนั้นเรามาดูวิธีการป้องกันอื่น ๆ ที่พอทำได้เพื่อป้องกันการเกิดสิวหรืออย่างน้อยก็ลดความรุนแรงของสิวลงได้อย่างถูกวิธีกันครับ

—————————————–

1️⃣. ล้างหน้าให้สะอาดก่อนและหลังใส่แมสก์ 🧖‍♀️ ด้วยโฟม หรือ เจลล้างหน้าสูตรอ่อนโยน ลดการอุดตันและไม่ทำให้ผิวแห้งเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้เกิดการระคายเคืองมากขึ้น

เมื่อกลับบ้าน หลังถอดแมสก์ควรล้างหน้าให้สะอาดทันที และหากแต่งหน้า ควรเพิ่มขั้นตอนการเช็ดเครื่องสำอางออกด้วยผลิตภัณฑ์เช็ดเครื่องสำอางก่อนล้างหน้าเสมอ

—————————————–

2️⃣. เลือกใช้เวชสำอาง หรือ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ช่วยฟื้นฟูและเสริมเกราะป้องกันของผิวจากการระคายเคือง ลดความมันของผิว ลดการระคายเคืองและการอักเสบของผิวได้ เพิ่มความชุ่มชื้นของผิวและเพิ่ม skin barrier (เกราะป้องกันผิว) ปลอดสารระคายเคือง (สังเกตข้างฉลาก ควรมีคำว่า Fragrance-free, Paraben-free, Sulfate-free, Colorant-free, Silicone-free, Alcohol-free) และ ปลอดสารลดการอุดตัน (สังเกตคำว่า Oil free, Non-comedogenic)

—————————————–

3️⃣. แต่งหน้าน้อยลง หรือ งดการแต่งหน้าบริเวณที่ใส่แมสก์ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการอุดตันที่ผิว และ ลดโอกาสการเป็นสิว

—————————————–

4️⃣. เลือกหน้ากากอนามัยที่มีคุณภาพ 😷 มีขนาดพอดีกับใบหน้าไม่รัดแน่นจนเกินไปเพื่อลดการเสียดสีของผิว

🔸 หน้ากากอนามัยชนิดกระดาษ: ควรใช้วัสดุที่มีคุณภาพ สะอาด มีผิวความเรียบ ไม่ขรุขระ เพื่อลดการเสียดสีกับผิวหน้า และควรเปลี่ยนใหม่ทุกวัน

🔸 หน้ากากอนามัยชนิดผ้า: ควรซักทำความสะอาดทุกวัน เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคและกลิ่นเหม็น หรือเลือกเนื้อผ้าชนิดพิเศษที่ลดการสะสมของแบคทีเรีย และ ลดการเสียดสีของผิว เช่น เนื้อผ้าที่มี Nano Zinc Oxide ซึ่งช่วยลดการสะสมของแบคทีเรีย S. aureus, S. pyogenes, E. coli and K. aerogenes เป็นต้น

—————————————–

5️⃣. รองทิชชู่ระหว่างแมสก์และผิว (เลือกทิชชู่ที่สะอาดและผิวสัมผัสที่ละเอียด) เพื่อลดการเสียดสี และเปลี่ยนทิชชู่ทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อลดกความอับชื้น และ ลดการสะสมของแบคทีเรีย

—————————————–

6️⃣. ถอดแมสก์บ้าง ในสถานที่ที่ปลอดคนและอากาศถ่ายเทสะดวก💨 เช่น หากทำงานอยู่ในห้องคนเดียวก็ควรจะถอดหน้ากากอนามัยออก เพื่อให้เกิดการระบายความร้อน ♨️และ ลดความชื้นที่ผิวหนัง แนะนำถอดแมสก์ออกนานประมาณ 15 นาที ทุก 4 ชั่วโมง

—————————————–

7️⃣. เปลี่ยนแมสก์ทุกวัน ไม่ควรใส่แมสก์ซ้ำ หรือ หากเป็นแมสก์ผ้าควรซักทุกวัน เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค 🦠

—————————————–

8️⃣. ถ้ามีสิว ไม่ควรบีบแคะแกะเกา แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนัง 👨‍⚕️เพื่อการดูแลอย่างถูกต้องและป้องกันการเกิดแผลเป็นและรอยหลุมสิวซึ่งรักษาได้ยากยิ่งกว่า

—————————————–
🧑🏻‍⚕️ ในปัจจุบันแมสก์กลายเป็นเหมือนส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้วเพื่อป้องกันไวรัสโควิด (COVID-19) หรือมลภาวะอื่นๆ เช่น PM2.5 เป็นต้น ทำให้ภาวะ Maskne นี้เจอเพิ่มมากขึ้นได้ในทุกคนไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ และเกิดทั่วทั้งโลก แต่เราก็สามารถป้องกันภาวะนี้ได้ตามข้อแนะนำข้างต้นครับ

แต่ถ้าดูแลเบื้องต้นแล้วยังไม่ดีขึ้น ต้องดูว่ามีปัจจัยอื่นกระตุ้นได้อีกหรือไม่ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุดครับ

Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Twitter

สาระความงามที่เกี่ยวข้อง

ขอบคุณแหล่งอ้างอิงจาก

1.Teo WL. Diagnostic and management considerations for ‘Maskne’ in the era of COVID-19. J Am Acad Dermatol 2021; 84: 520– 521.
 
2.Dréno B, Araviiskaia E, Berardesca E, et al. Microbiome in healthy skin, update for dermatologists. J Eur Acad Dermatol Venereol 2016; 30: 2038– 2047.
 
3.Blicharz L, Rudnicka L, Samochocki Z. Staphylococcus aureus: an underestimated factor in the pathogenesis of atopic dermatitis? Postepy Dermatol Alergol 2019; 36: 11– 17.
 
4.Takiwaki H, Tsuda H, Arase S, et al. Differences between intrafollicular microorganism profiles in perioral and seborrhoeic dermatitis. Clin Exp Dermatol 2003; 28: 531– 534.
 
5.Barac A, Pekmezovic M, Milobratovic D, et al. Presence, species distribution, and density of Malassezia yeast in patients with seborrhoeic dermatitis – a community-based case-control study and review of literature. Mycoses 2015; 58: 69– 75.
 
6.Teo W. L. (2021). The “Maskne” microbiome – pathophysiology and therapeutics. International journal of dermatology, 10.1111/ijd.15425. Advance online publication.
 
7.Damiani, G., Gironi, L. C., Kridin, K., Pacifico, A., Buja, A., Bragazzi, N. L., Spalkowska, M., Pigatto, P., Santus, P., Young Dermatologists Italian Network, & Savoia, P. (2021). Mask-induced Koebner phenomenon and its clinical phenotypes: A multicenter, real-life study focusing on 873 dermatological consultations during COVID-19 pandemics. Dermatologic therapy, 34(2), e14823.
 
8.Damiani, G., Gironi, L. C., Grada, A., Kridin, K., Finelli, R., Buja, A., Bragazzi, N. L., Pigatto, P., & Savoia, P. (2021). COVID-19 related masks increase severity of both acne (maskne) and rosacea (mask rosacea): Multi-center, real-life, telemedical, and observational prospective study. Dermatologic therapy, 34(2), e14848.
 
9.Chiriac, A. E., Wollina, U., & Azoicai, D. (2020). Flare-up of Rosacea due to Face Mask in Healthcare Workers During COVID-19. Maedica, 15(3), 416–417.
 
10.Pacis, M., Azor-Ocampo, A., Burnett, E., Tanasapphaisal, C., & Coleman, B. (2020). Prophylactic Dressings for Maintaining Skin Integrity of Healthcare Workers When Using N95 Respirators While Preventing Contamination Due to the Novel Coronavirus: A Quality Improvement Project. Journal of wound, ostomy, and continence nursing : official publication of The Wound, Ostomy and Continence Nurses Society, 47(6), 551–557.
 
11.Yu, J., Chen, J. K., Mowad, C. M., Reeder, M., Hylwa, S., Chisolm, S., Dunnick, C. A., Goldminz, A. M., Jacob, S. E., Wu, P. A., Zippin, J., & Atwater, A. R. (2021). Occupational dermatitis to facial personal protective equipment in health care workers: A systematic review. Journal of the American Academy of Dermatology, 84(2), 486–494.
 
12.Singh, M., Pawar, M., Bothra, A., Maheshwari, A., Dubey, V., Tiwari, A., & Kelati, A. (2020). Personal protective equipment induced facial dermatoses in healthcare workers managing Coronavirus disease 2019. Journal of the European Academy of Dermatology and Venereology : JEADV, 34(😎, e378–e380.
 
13.นพดล นพคุณ, เพ็ญวดี ทิมพัฒนพงษ์, วัณณศรี สินธุภัค และคณะ. แนวทางการดูแลรักษาโรคสิว. Clinical practice guideline ของสมาคมโรคผิวหนังแห่งประเทศไทย 2554

Leave a comment