May 1, 2021

วิธีป้องกันและรักษารอยดำสิว

เคยสังเกตไหมครับว่า หลังเกิดสิว ทำไมบางคนทิ้งรอยดำ บางคนเป็นรอยแดง หรืออาจเกิดทั้งรอยดำและทั้งรอยแดง ตอนเป็นสิวก็ว่าเครียดแล้ว แต่ยังทิ้งรอยให้เครียดต่อ มิหนำซ้ำ รอยสิวอยู่นานกว่าสิวอีก ซึ่งทุกคนคงเคยลองผิดลองถูกรักษาด้วยตนเองแล้ว ดีขึ้นบ้างและไม่ดีบ้าง วันนี้เรามารู้จักเกี่ยวกับเค้าเพิ่มมากขึ้นกันครับ เพื่อจะได้รู้วิธีป้องกัน และ รักษารอยดำ รอยแดงจากสิวที่ถูกวิธี

สรรสาระโดย 👨🏻‍⚕️ นพ.วรุตม์ คุณาฤทธิพล (หมอช้อป)
– ปริญญาโท ตจวิทยา (ผิวหนัง)
– Dermatology Clinical Observership,
Jutendo University Hospital , Tokyo
– Fellowship in Anti-Aging Medicine

รอยดำสิว หรือ Post-Inflammatory Hyperpigmentation (PIH)

รอยดำสิวมักเกิดในคนที่มีผิวคล้ำ (Fitzpatrick skin phototype scale IV, V, and VI ) ซึ่งเจอได้มากในคนเอเชียและคนไทย โดยรอยดำสิวสามารถจางหายไปได้เอง แต่ใช้ระยะเวลาหลายเดือน เฉลี่ยประมาณ 4-6 เดือน และอาจเจอรอยดำคู่กับรอยแดงได้

กลไกการเกิด “รอยดำสิว” บนผิวหนัง

ถ้ามีสภาวะที่เกิด ”การอักเสบที่ผิวหนัง” เช่น มีอาการปวด แสบ คัน ที่ผิวหนังก็อาจทำให้เกิดรอยดำที่ผิวได้ทั้งหมดครับ ตัวอย่าง เช่น โรคผิวหนังอักเสบ (Dermatitis / Eczema) ผิวไหม้แสบจากแสงแดด (Sunburn) หรือแม้แต่สิว (Acne) ครับ
รอยดำบนผิวหนังอาจมีลักษณะเป็นจุดเทา สีน้ำตาลจาง/เข้ม หรือแม้แต่สีดำบนผิวหนังชั้นตื้นหรือลึกก็ได้  ซึ่งสีเหล่านี้เกิดจากการอักเสบที่ผิว เช่น เป็นสิว ทำให้เซลล์ผลิตเม็ดสีที่ผิวหนังชื่อ เมลาโนไซต์ (Melanocyte) เกิดการสร้างเม็ดสีชื่อ เมลานิน (Melanin)” สีดำมากขึ้น โดยเม็ดสีเหล่านั้นจะมารวมตัวกันเป็นปริมาณมากอยู่บริเวณนั้นทำให้เกิดเป็นรอยสีดำขึ้นมานั่นเองครับ

วิธีป้องกัน “รอยดำสิว” บนผิวหนัง

1. งดบีบแกะสิว

การบีบสิวที่รุนแรงและไม่ถูกวิธี เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการอักเสบ และกลายเป็นรอยดำและรอยแผลเป็นจากสิว (Acne Excoriee)

2. หลีกเลี่ยงแสงแดด และ ทาครีมกันแดดสม่ำเสมอ

เนื่องจากรังสี UV ในแสงแดดจะกระตุ้นการเพิ่มของเม็ดสีเมลานิน ทำให้รอยดำเข้มชัดขึ้น

3. พบแพทย์ทันทีหากมีสิวปริมาณมาก

เมื่อเป็นสิวมากขึ้น เราไม่ควรทิ้งไว้นาน เพราะผิวจะอักเสบมากขึ้น รอยจะดำนานหรือสีเข้มมากขึ้น ทำให้รักษายากขึ้นหรือต้องใช้เวลารักษานานขึ้น

วิธีการรักษา “รอยดำ” จากสิว

1. ยาทาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเซลล์สร้างเม็ดสี

– ยาที่มีส่วนประกอบของ ไฮโดรควิโนน  อาร์บูติน หรือ กรดโคจิก 
– ยาทาที่ออกฤทธิ์เร่งการผลัดตัวของเซลล์ผิว เช่น กรดอัลฟ่าไฮดร๊อกซี่ (AHA) อ่อนๆ หรือ กรดวิตามินเอ
คำเตือน: การใช้ยาบางชนิดต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรหาซื้อยามาใช้เอง เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงได้ครับ

2. เลเซอร์ลดรอยดำสิว

เรามักใช้เลเซอร์ลดรอยดำสิวในกรณีที่ใช้ยาทาหรือครีมทามานานแล้วไม่ดีขึ้นครับ หรือรักษาควบคู่กับการทายาก็ได้ เช่น IPL / Diode / Q-Switched ND YAG / Picosecond Laser ซึ่งแน่นอนว่าช่วยให้รอยดำสิวหายเร็วขึ้นกว่าการทายาหลายเท่าตัว แต่ก็แลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าครับ

คำแนะนำ

 
1. สำหรับผู้ที่เป็นรอยแดงรอยดำจากสิว การรักษารอยดำและรอยแดงจากสิว ควรเริ่มต้นไปพร้อมๆ กับวิธีการรักษาสิว เพราะตราบใดที่สิวยังไม่หาย และยังมีสิวใหม่ขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจมีรอยสิวใหม่ได้ครับ 
2. การหลีกเลี่ยงแสงแดดและการทาครีมกันแดดสำหรับผิวแพ้ง่าย (Hypoallergenic) และชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดสิว (Non-comedogenic) ร่วมกับการทายา หรือ เลเซอร์ มีส่วนช่วยให้รอยดำจางลงเร็วขึ้น

 

ซึ่งเลเซอร์สำหรับรักษารอยดำสิวนั้นมีหลายชนิดมาก ครั้งหน้าเราจะมาเจาะลึกกันว่า เลเซอร์ชนิดใดที่รักษารอยสิวได้ดีที่สุดกันครับ

Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Twitter

ขอบคุณแหล่งอ้างอิงจาก

  1. Davis, E. C., & Callender, V. D. (2010). Postinflammatory hyperpigmentation: a review of the epidemiology, clinical features, and treatment options in skin of color. The Journal of clinical and aesthetic dermatology3(7), 20–31.

 

  1. Callender, V. D., St Surin-Lord, S., Davis, E. C., & Maclin, M. (2011). Postinflammatory hyperpigmentation: etiologic and therapeutic considerations. American journal of clinical dermatology12(2), 87–99. https://doi.org/10.2165/11536930-000000000-00000

 

  1. Patil, U. A., & Dhami, L. D. (2008). Overview of lasers. Indian journal of plastic surgery : official publication of the Association of Plastic Surgeons of India41(Suppl), S101–S113.

 

  1. Goldman L, Wilson RG, Hornby P, Meyer RC. Radiation From a Q-Switched Ruby Laser.J Invest Dermatol1965,44(1):69–71

 

  1. Anderson RR, Parrish JA. Microvascular Can be selectively Damaging Using Dye Lasers. A Basic Theory and Experimental Evidence in Human Skin.Lasers Surg Med1981, 1268–76

 

  1. Anderson RR, Farinelli W, Laubach H, et al. Selective photothermolysis of lipid-rich tissues: a free electron laser study. Lasers Surg Med. 2006;38(10):913–919.

 

  1. Levine VJ, Geronemus RG. Adverse effects associated with the 577 and 585 nanometer pulsed dye laser in the treatment of cutaneous vascular lesions: a study of 500 patients. J Am Acad Dermatol. 1995;32:613–617.

 

  1. Lee, S., Lee, T., Kim, H., Kim, J., Eun, H., & Kim, R. (2013). A practical comparison of Copper Bromide Laser for the treatment of vascular lesions. Annual International Conference of the IEEE Engineering in Medicine and Biology Society. IEEE Engineering in Medicine and Biology Society. Annual International Conference2013, 3765–3768. https://doi.org/10.1109/EMBC.2013.6610363

 

  1. Farkas, Jordan & Hoopman, John & Kenkel, Jeffrey. (2013). Five Parameters You Must Understand to Master Control of Your Laser/Light-Based Devices. Aesthetic surgery journal / the American Society for Aesthetic Plastic surgery. 33. 10.1177/1090820X13501174.

 

  1. Britt, C. J., & Marcus, B. (2017). Energy-Based Facial Rejuvenation: Advances in Diagnosis and Treatment. JAMA facial plastic surgery, 19(1), 64–71. https://doi.org/10.1001/jamafacial.2016.1435

 

  1. Shah, S., & Alster, T. S. (2010). Laser treatment of dark skin: an updated review. American journal of clinical dermatology, 11(6), 389–397. https://doi.org/10.2165/11538940-000000000-00000

Leave a comment