September 19, 2021

ระวัง!! ฉีดโบท็อกซ์แล้วจะดื้อโบ

ปัจจุบันการฉีดโบท็อกซ์เพื่อช่วยลดริ้วรอย หรือปรับรูปหน้าให้เรียวสวย เป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก รวมถึงในไทย เพราะผู้บริโภคมีความมั่นใจมากขึ้นว่า ได้ผลและปลอดภัย ประกอบกับการแข่งขันของสถานพยาบาลต่าง ๆ ทำให้ราคาถูกลงเข้าถึงได้ง่ายขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต

แต่ใครที่ชอบตามล่าโปรโมชั่นโบท็อกซ์ ที่เคลมว่า “ฉีดโบท็อกซ์ไม่จำกัดยูนิต” “ไม่ลงย้ำฟรี” “โบท็อกซ์เหมาบุฟเฟต์ ” รู้หรือไม่ว่า ท่านกำลังตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยง “ดื้อยา” หรือ “ดื้อโบ” ได้ !!! ทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า “BOTULINUM TOXIN RESISTANCE” ครับ

สรรสาระโดย 👨🏻‍⚕️ นพ.วรุตม์ คุณาฤทธิพล (หมอช้อป)
– ปริญญาโท ตจวิทยา (ผิวหนัง)
– Dermatology Clinical Observership,
Jutendo University Hospital , Tokyo
– Fellowship in Anti-Aging Medicine

“ดื้อโบ” คืออะไร ??

ภาวะดื้อโบ เป็นภาวะที่ร่างกายของเราสร้างภูมิคุ้มกัน (Antibody) ออกมาทำลายยาโบท็อกซ์ เพราะถูกมองว่าเป็นสารแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย  ทำให้ตัวยาถูกทำลายและไม่ออกฤทธิ์

ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ฉีดโบ เป็นภาวะที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อการฉีดโบท็อกซ์เลย หรือ ตอบสนองลดลงมาก ปัญหาที่ตามมาคือ ทำให้ไม่เห็นผลในการลดริ้วรอย ลดกราม หรือยกกระชับหน้า ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณเยอะขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้าย อาจจะไม่เห็นผลเลย เสียเงินเสียเวลาเปล่า

เพื่อให้รู้จักภาวะ “ดื้อโบ” มากขึ้น เรามารู้จักโครงสร้างหน้าตาของ โบทูลินุ่มท๊อกซิน หรือ โบท็อกซ์กันก่อนครับ

โบทูลินุ่มท๊อกซิน หรือ โบท็อกซ์ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ

  1. เนื้อยา (ส่วนที่เราต้องการให้ออกฤทิ์) = เรียกส่วนนี้ว่า “Pure Protein หรือ Core Protein” >>> ยิ่งเยอะ ยิ่งออกฤทธิ์ดีครับ

  2. น้ำ/สิ่งเจือปน (ส่วนที่เราไม่ต้องการ) = เรียกส่วนนี้ว่า “Complexing Protein หรือ Antigen Protein” >>> ยิ่งเยอะ ยิ่งไม่ดีครับ ซึ่งตัวนี้แหละครับ จะเป็นผู้ร้ายทำให้ร่างกายสร้างภูมิขึ้นกันขึ้นมาทำลาย และเกิดภาวะดื้อโบตามมาได้

โบท็อกซ์แต่ละชนิด หรือแต่ละแบรนด์ มีจำนวน Pure Protein (เนื้อยา) หรือ Complexing Protein (สิ่งเจือปน) ไม่เท่ากัน !!!

โบท็อกซ์แต่ละชนิด(หรือแบรนด์) ต่างกันที่ complexing protein โดยจะมีส่วนประกอบของ complexing protein ที่รูปร่างและน้ำหนักแตกต่างกันออกไป ดังนั้น ร่างกายก็จะจดจำแตกต่างกัน ( ยกตัวอย่างเหมือนคนเดียวกันใส่เสื้อผ้าแต่งตัวคนละสไตล์ ทำให้บางทีคนที่มองเห็นก็อาจจะจำไม่ได้หรือเห็นแตกต่างออกไปจากเดิม )

แล้วทำไมผู้ผลิต จึงต้องผสม Complexing protein เข้าไป??

ในกระบวนการผลิตที่นำมาซึ่ง โบท็อกซ์นั้น เกิดจากการผลิต toxin ออกมาด้วย bacteria ที่ชื่อว่า Clostridium Botulinum ซึ่งผลผลิตที่ได้ออกมานั้นจะมี complexing protein เกาะอยู่กับ core neurotoxin และ มีโปรตีนอื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของ bacteria ผสมอยู่ แล้วค่อยนำโปรตีน หรือ สิ่งแปลกปลอมที่ไม่ต้องการออกในขั้นตอนต่อ ๆ ไป

นอกจากนี้ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ ต้องมีการทำงานวิจัยใหม่ทั้งหมด เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยและต้องขึ้นทะเบียนยาใหม่ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ใช้ระยะเวลายาวนาน ดังนั้นการที่บริษัทจะมีการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เช่นนำ complexing protein ออกนั้นไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ในเวลาอันรวดเร็วครับ

สรุปคือ เพราะไม่สามารถเลี่ยงโปรตีนในการผลิตได้ ขณะที่การสกัดออกนั้นยาก ใช้เวลาและใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นมากนั่นเองครับ

นั่นก็แปลว่า การเปลี่ยนยี่ห้อโบท็อกซ์บ่อยๆ เพิ่มการดื้อโบ !!!

เนื่องจากกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อ complexing protein (น้ำ=ส่วนที่เราไม่ต้องการ) ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิดของโบท็อกซ์ครับ

“ดื้อโบ” ส่งผลอย่างไร??

  1. ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ยาของโบท็อกซ์น้อยลง เช่น จากเดิม 6 เดือน เหลือ 3 เดือนและลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุดการฉีดโบท็อกซ์ไม่ได้ผลอีกต่อไป

  2. ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้ (เช่น ริ้วรอยไม่หาย ขนาดกรามไม่ลดลง)

  3. อาจจะต้องใช้ยาในปริมาณที่มากขึ้น (เช่นเดิมใช้ 50 ยูนิต แต่ต้องเพิ่มเป็น 100 ยูนิตถึงจะเห็นผลเท่าเดิม) ทำให้เสียเงินเพิ่มขึ้น

  4. การรักษาโรคบางโรคที่จำเป็นต้องใช้โบท็อกซ์ชนิดนี้ก็จะไม่สามารถรักษาได้ เช่น โรคกล้ามเนื้อเกร็งกระตุก

รู้ได้อย่างไรว่าเรามีภาวะ "ดื้อโบ" ?

  1. สังเกตอาการตัวเองหลังฉีดโบ เช่น ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ยาของโบท็อกซ์น้อยลง เช่น จากเดิม 6 เดือน เหลือ 3 เดือนและลดลงเรื่อย ๆ  จนในที่สุดการฉีดโบท็อกซ์ไม่ได้ผลอีกต่อไป หรืออาจไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้ (เช่น ริ้วรอยไม่หาย ขนาดกรามไม่ลดลง)

หมายเหตุ ควรระวังยาปลอมหรือตัวยาที่ไม่ได้มาตรฐาน (เช่น ยาหิ้ว ยาปลอม ยาที่ไม่มีอย. มักพบกรณีที่ราคายาถูกมากจนผิดสังเกต ไม่ยอมโชว์ตัวยาก่อนฉีด ไม่ให้ดูกล่องยาหรือตรวจสอบเลข อย.ก่อนฉีดจริง) มักมีสารปนเปื้อนสูง ทำให้ฉีดแล้วไม่เห็นผล ควรนึกถึงสาเหตุนี้ก่อนภาวะดื้อโบครับ

 แต้ถ้ามั่นใจแล้วว่าเป็นยาแท้และปริมาณที่ฉีดถูกต้อง ก็ให้ดูวิธีต่อไปกันครับ

  1. สามารถทำการทดสอบได้โดยให้แพทย์ฉีดหน้าผากหรือจุดที่มีริ้วรอยเพียงฝั่งเดียว และรอดูผลลัพธ์หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ หากริ้วรอยไม่หายไปแสดงว่ามีภาวะดื้อโบท็อกซ์ (Frontalis test)

  2. ส่งผลเลือดตรวจซึ่งมี 2 Test คือ

  • Test 1 สำหรับตรวจดูว่าคนไข้มีความเสี่ยงดื้อโบทูลินุ่มท๊อกซินไหม

  • Test 2 สำหรับตรวจคนไข้ที่ดื้อนั้นว่ายังสามารถตอบสนองต่อ Pure toxin ได้หรือไม่ โดยตรวจหาภูมิคุ้นกัน (Antibody) ต่อ complexing protein ในเลือดคนไข้

ใครที่อยากรู้วิธีป้องกันและรักษา ภาวะดื้อโบ คลิกที่ภาพด้านล่างนี้ได้เลยครับ

Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Twitter

ขอบคุณแหล่งอ้างอิงจาก

  1. Lorence et al., Aesthetics Surgery Journal. 2013;33(15):185-225.
  2. Kerscher et al., Journal of Drugs in Dermatology. 2019;18(1):52-57.
  3. Eisele et al. Toxicon. 2011;57:555-565.
  4. Wanitphakdeedecha et al., Dermatology and Therapy. 2020. Online article for download: https://link.springer.com/article/10.1007/s13555-020-00397-5.
  5. Naumann, M., Boo, L. M., Ackerman, A. H., & Gallagher, C. J. (2013). Immunogenicity of โบทูลินุ่มท๊อกซินs. Journal of neural transmission (Vienna, Austria : 1996), 120(2), 275–290. https://doi.org/10.1007/s00702-012-0893-9
  6. Bellows, S., & Jankovic, J. (2019). Immunogenicity Associated with โบทูลินุ่มท๊อกซิน Treatment. Toxins, 11(9), 491. https://doi.org/10.3390/toxins11090491
  7. Albrecht, P., Jansen, A., Lee, J. I., Moll, M., Ringelstein, M., Rosenthal, D., Bigalke, H., Aktas, O., Hartung, H. P., & Hefter, H. (2019). High prevalence of neutralizing antibodies after long-term botulinum neurotoxin therapy. Neurology, 92(1), e48–e54. https://doi.org/10.1212/WNL.0000000000006688
  8. Srinoulprasert, Y., Kantaviro, W., Nokdhes, Y. N., Patthamalai, P., Dowdon, L., Chawengkiattikul, R., & Wanitphakdeedecha, R. (2019). Development of inhibition ELISA to detect antibody-induced failure of โบทูลินุ่มท๊อกซิน a therapy in cosmetic indications. Journal of immunological methods, 473, 112635. https://doi.org/10.1016/j.jim.2019.112635
  9. Frevert J. (2009). Xeomin is free from complexing proteins. Toxicon : official journal of the International Society on Toxinology, 54(5), 697–701. https://doi.org/10.1016/j.toxicon.2009.03.010
  10. Resistance to โบทูลินุ่มท๊อกซิน in Aesthetics By Sebastián Torres Farr Submitted: June 13th 2017Reviewed: September 6th 2017Published: December 20th 2017 DOI: 10.5772/intechopen.70851
  11. Xeomin® Webinar: Role of Anti-Complexing Protein Antibody in Secondary BONT-A Treatment Failure in Cosmetic Indication

Leave a comment