คนที่พึ่งพาโบท็อกซ์ในการหยุดอายุผิว คงไม่มีใครอยาก “ดื้อโบ” (BOTULINUM TOXIN RESISTANCE) เพราะผิวหน้าคุณจะต้องกลับคืนสู่สภาพเดิมที่ควรเป็น ซึ่งอาจมีผลต่อความมั่นใจและการทำงานได้
วันนี้เรามาดูกันว่าจะป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดื้อโบได้อย่างไร รวมถึงคนที่ดื้อโบแล้วจะมีวิธีการรักษาอย่างไรครับ
สรรสาระโดย นพ.วรุตม์ คุณาฤทธิพล (หมอช้อป)
– ปริญญาโท ตจวิทยา (ผิวหนัง)
– Dermatology Clinical Observership,
Jutendo University Hospital , Tokyo
– Fellowship in Anti-Aging Medicine
ภาวะดื้อโบ เกิดจากอะไรได้บ้าง ??
ภาวะดื้อโบ เกิดจาก 3 สาเหตุหลักครับ ได้แก่
โบท็อกซ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีคุณภาพ ของปลอม ของหิ้ว (อาจมีสิ่งเจือปนเยอะ ยาไม่มีคุณภาพ หรือ เกิดการติดเชื้อได้)
ฉีดโบท็อกซ์ปริมาณมากเกินไป(มากกว่า 100-200 ยูนิต ในการฉีดครั้งเดียว)
ฉีดโบท็อกซ์ที่ระยะเวลาถี่จนเกินไป (ฉีดซ้ำเร็วเกินไปภายใน 3 เดือน)

“ฉีดโบไม่ลงฉีดย้ำฟรีใน 2 สัปดาห์” อีกหนึ่งโปรโมชั่นที่ทำให้เสี่ยงดื้อโบ !!!
จากบทความที่แล้ว (คลิก ฉีดโบท็อกซ์แล้วจะดื้อโบ) ทำให้เรารู้ว่าทุกครั้งที่ฉีดโบท็อกซ์เข้าร่างกายแต่ละครั้ง จะเป็นการกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเรา ฉะนั้น การฉีดโบท็อกซ์บ่อยเกินไปก็จะทำให้เกิดภาวะการดื้อโบได้ หมอแนะนำว่าควรเว้นระยะการฉีดซ้ำจากครั้งก่อนอย่างน้อย 90 วัน หรือ 3 เดือนครับ
ซึ่งอันที่จริงแล้ว หากเราได้รับการฉีดโบท็อกซ์ตาม dose ที่แน่นอนและฉีดถูกจุดด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง ได้ผลแน่นอน โดยผลลัพธ์ยาวนาน เฉลี่ย 4-12 เดือน (แล้วแต่แบรนด์) จึงไม่จำเป็นต้องฉีดเยอะเกินไป หรือ มาย้ำบ่อย ๆ ครับ
"ฉีดโบท็อกซ์ไม่จำกัดยูนิต" ทำได้จริงเหรอ ??
โปรโบท็อกซ์บุฟเฟ่ต์ ฉีดไม่อั้น นั่นก็เป็นจุดที่ทำให้เสี่ยงต่อภาวะดื้อโบได้เช่นกันครับ เพราะจริง ๆ แล้วเราไม่ควรฉีดเกิน 100-200 ยูนิต/ครั้งครับ
โปรดฟังอีกครั้งว่า หากเราได้รับการฉีดโบท็อกซ์ตาม dose ที่แน่นอนและฉีดถูกจุดด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง ได้ผลแน่นอน โดยผลลัพธ์ยาวนาน เฉลี่ย 4-12 เดือน (แล้วแต่แบรนด์) จึงไม่จำเป็นต้องฉีดเยอะเกินไป หรือ มาย้ำบ่อย ๆ ครับ



วิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดื้อโบ
ใช้โบท็อกซ์ที่ปราศจากคอมเพล็กซิ่งโปรตีน หรือ โบบริสุทธิ์ (Purified Toxin product) ซึ่งปัจจุบันมีเพียงโบท็อกซ์ยี่ห้อซีโอมินครับ ซึ่งจะอธิบายต่อไปครับ
- ไม่ควรเปลี่ยนยี่ห้อโบท็อกซ์บ่อยเกินไป
ฉีดปริมาณ (โดส) ที่เหมาะสม คือ ไม่ควรเกิน 100-200 ยูนิต/ครั้ง
หากจะฉีดในครั้งต่อไป ควรเว้นระยะห่างจากการฉีดครั้งแรก อย่างน้อย 90 วัน (3 เดือน)
ควรฉีดโบเพียงปีละ 2 ครั้งเท่านั้น
ควรฉีดโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ และ จากสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ และ ไม่ได้ผลลัพธ์ที่ควรจะเป็น
เลือกใช้ตัวยาที่ได้มาตรฐาน ผ่าน อย.ไทย ควรระวัง ยาหิ้ว ยาปลอม ยาที่ไม่มีอย. ไทย ซึ่งจุดสังเกตคือ ราคายาถูกมากจนผิดสังเกต ไม่ยอมโชว์ตัวยาก่อนฉีด ไม่ให้ดูกล่องยาหรือตรวจสอบเลข อย.ก่อนฉีดจริง ทางที่ดีควรเช็คกับบริษัทผู้นำเข้าก่อนฉีด โดยแต่ละยี่ห้อมักจะมีตัวแทนในประเทศ ยี่ห้อละ 1 บริษัทเท่านั้น
ถ้าเกิดภาวะดื้อโบไปแล้ว จะทำอย่างไร
ลองเปลี่ยนไปใช้โบท็อกซ์ยี่ห้อที่ได้มาตรฐานที่มีสารบริสุทธิ์สูง (เช่น ซีโอมิน หรือ โบเยอรมัน) ซึ่งหากยังไม่ได้ผล อาจจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางเลือกอื่นมาเป็นตัวช่วยทดแทนในการลดเลือนริ้วรอย ยกกระชับหน้า เช่น การใช้เลเซอร์ อัลเทอร่า เป็นต้น
รอให้ภูมิคุ้มกัน (Antibody) ที่ทำลายโบท็อกซ์หมดฤทธิ์ไปเอง โดยจะใช้ระยะเวลานานประมาณ 2-3 ปี ซึ่งหมายความว่า สภาพผิวก็จะคืนกลับสู่สามัญ หน้าเดิมคืนมานั่นเองครับ T T
สำหรับคนที่ไม่อยากเสี่ยงดื้อโบ หรือ เกิดภาวะดื้อโบไปแล้ว แนะนำให้ฉีดโบท็อกซ์ โบบริสุทธิ์ หรือ โบเยอรมัน ครับ เพราะนอกจากจะมีกระบวนการทำให้บริสุทธิ์โดยนำเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากผลิตภัณฑ์แล้ว ยังเพิ่มกระบวนการ purify เฉพาะ neurotoxin อีกด้วย โดยการนำ Complexing protein อื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นต่อการออกฤทธิ์ออกไปจากผลิตภัณฑ์
โบเยอรมัน มีเนื้อยา (ส่วนที่เราต้องการให้ออกฤทธิ์) = “Pure Protein หรือ Core Protein” ถึง 99.9% เลยครับ ดังนั้นโอกาสเกิดภาวะดื้อโบจากสิ่งเจือปนจึงน้อยมาก ๆ และ โบเยอรมัน ยังเหมาะกับผู้ที่ต้องการแสดงสีหน้าเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องการความแข็งตึง
สรุปภาวะดื้อโบ
จากสาเหตุด้านบน ที่ทำให้เกิดอาการดื้อยาของโบท็อกซ์ สามารถป้องกัน และแก้ไขได้ง่ายเลย คือ ต้องเลือกใช้ปริมาณโบท็อกซ์ที่เหมาะสม ไม่ฉีดบ่อยหรือถี่จนเกินไป อีกทั้ง เลือกโบท็อกซ์ของแท้ ได้มาตรฐาน เลือกคลินิกที่มีความน่าเชื่อถือ ราคาสมเหตุสมผล ไม่ถูกจนเกินไป
ก่อนจะเลือกฉีดโบท็อกซ์ที่ไหน ให้สังเกตที่ราคาว่า ถ้าถูกมาก ๆ พร้อมเคลมว่าฉีดได้ไม่จำกัดยูนิต หรือแม้แต่เคลมว่า ฉีดซ้ำได้ฟรี ไม่ได้เห็นการแกะยาจากกล่อง ไม่เห็นการผสมยาต่อหน้า พออยู่บนเตียงแล้วก็จะเห็นเข็มวางอยู่บนถาด รอฉีดแล้ว ให้ระวังไว้เลยครับว่าท่านอาจได้โบท็อกซ์ของปลอม ของหิ้วจากต่างประเทศ หรือ โบท็อซ์เจอจางน้ำเกลือ ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการดื้อโบได้ครับ
เพราะถ้าเกิดดื้อโบแล้วเราอาจจะต้องรอให้ภูมิคุ้มกัน (Antibody) ที่ทำลายโบท็อกซ์หมดฤทธิ์ไปเอง แปลว่า เราอาจต้องหน้าบาน มีริ้วรอย ไปนาน 2-3 ปีเลยนะครับถึงจะกลับมาสวยหล่อกันใหม่ได้
อยากสวยให้นาน ไม่จำเป็นต้องเสี่ยงครับ
สาระความงามที่เกี่ยวข้อง
ขอบคุณแหล่งอ้างอิงจาก
- Lorence et al., Aesthetics Surgery Journal. 2013;33(15):185-225.
- Kerscher et al., Journal of Drugs in Dermatology. 2019;18(1):52-57.
- Eisele et al. Toxicon. 2011;57:555-565.
- Wanitphakdeedecha et al., Dermatology and Therapy. 2020. Online article for download: https://link.springer.com/article/10.1007/s13555-020-00397-5.
- Naumann, M., Boo, L. M., Ackerman, A. H., & Gallagher, C. J. (2013). Immunogenicity of โบทูลินุ่มท๊อกซินs. Journal of neural transmission (Vienna, Austria : 1996), 120(2), 275–290. https://doi.org/10.1007/s00702-012-0893-9
- Bellows, S., & Jankovic, J. (2019). Immunogenicity Associated with โบทูลินุ่มท๊อกซิน Treatment. Toxins, 11(9), 491. https://doi.org/10.3390/toxins11090491
- Albrecht, P., Jansen, A., Lee, J. I., Moll, M., Ringelstein, M., Rosenthal, D., Bigalke, H., Aktas, O., Hartung, H. P., & Hefter, H. (2019). High prevalence of neutralizing antibodies after long-term botulinum neurotoxin therapy. Neurology, 92(1), e48–e54. https://doi.org/10.1212/WNL.0000000000006688
- Srinoulprasert, Y., Kantaviro, W., Nokdhes, Y. N., Patthamalai, P., Dowdon, L., Chawengkiattikul, R., & Wanitphakdeedecha, R. (2019). Development of inhibition ELISA to detect antibody-induced failure of โบทูลินุ่มท๊อกซิน a therapy in cosmetic indications. Journal of immunological methods, 473, 112635. https://doi.org/10.1016/j.jim.2019.112635
- Frevert J. (2009). Xeomin is free from complexing proteins. Toxicon : official journal of the International Society on Toxinology, 54(5), 697–701. https://doi.org/10.1016/j.toxicon.2009.03.010
- Resistance to โบทูลินุ่มท๊อกซิน in Aesthetics By Sebastián Torres Farr Submitted: June 13th 2017Reviewed: September 6th 2017Published: December 20th 2017 DOI: 10.5772/intechopen.70851
- Xeomin® Webinar: Role of Anti-Complexing Protein Antibody in Secondary BONT-A Treatment Failure in Cosmetic Indication