May 5, 2021

เลเซอร์รอยดำสิวแบบไหนดี

เป็นคำถามที่หมอเจอเยอะมากครับ เลเซอร์ลดรอยดำสิวมีหลายประเภท เช่น การใช้คลื่นแสง IPL (Intense pulsed light) หรือ เลเซอร์ เช่น  Diode laser  Q-switched Nd-YAG laser Picosecond laser เป็นต้น
ซึ่งแต่ละแบบจะมีลักษณะ และ ความยาวคลื่นแตกต่างกันไป การเลือกเลเซอร์สำหรับคนไข้แต่ละคนนั้น หมอจะดูสิ่งที่เรียกว่า “โครโมฟอร์ (chromophore)” เป็นหลักครับ

สรรสาระโดย 👨🏻‍⚕️ นพ.วรุตม์ คุณาฤทธิพล (หมอช้อป)
– ปริญญาโท ตจวิทยา (ผิวหนัง)
– Dermatology Clinical Observership,
Jutendo University Hospital , Tokyo
– Fellowship in Anti-Aging Medicine

โครโมฟอร์ (chromophore)” คืออะไร

Chromophore (chromo = สี , phore = พาหะ) คือ สารประกอบอินทรีย์ที่สามารถดูดกลืนแสงได้ในช่วงอัลตราไวโอเลต แต่ถ้าสารอินทรีย์ใดมีส่วนของโครงสร้างที่ทำให้มองเห็นเป็นสี ซึ่งเรียกว่า “โครโมฟอร์ (chromophore)” จะสามารถดูดกลืนได้ทั้งในช่วงแสงอัลตร้าไวโอเลตและแสงที่มองเห็นได้  โดยแพทย์จะเลือกพลังงานและคลื่นความยาวแสงให้เหมาะสมกับปัญหาและรอยโรคที่เกิด
พูดภาษาชาวบ้าน ก็คือ ดูสีของรอยนั่นเองแหละครับ

ภาพตัวอย่างสีของ “โครโมฟอร์ (chromophore)” บนผิวหนังโดยวิธี Diascopy

สีดำบนผิวหนัง = เม็ดสีเมลานิน (Melanin Pigment)

สีแดงบนผิวหนัง = ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ในเม็ดเลือดแดง ที่อยู่ในเส้นเลือดฝอยเล็กๆใต้ผิวหนัง

กราฟแสดงความยาวคลื่นของเลเซอร์(นาโนเมตร) และ การดูดซึมพลังงานของ“โครโมฟอร์ (chromophore)” ซึ่งเหมาะในการรักษารอยโรคที่ต่างกัน

 

แพทย์จะเป็นผู้เลือกชนิดของเลเซอร์ เลือกความยาวคลื่น และตั้งค่าพลังงานให้เหมาะสมที่สุดกับรอยโรคครับ เช่น

รอยดำจากสิว เม็ดสีเมลานิน (Melanin Pigment) ดูดซับพลังงานได้ดีที่ความยาวคลื่นต่างกัน เช่น 511 , 532 นาโนเมตร (nm) เป็นต้น
รอยแดงจากสิว ออกซีฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) ดูดซับพลังงานได้ดีที่ความยาวคลื่นต่างกันเช่น 577 , 585 , 595 นาโนเมตร (nm) เป็นต้น

ความยาวคลื่นของเลเซอร์ มีหน่วยเป็น “นาโนเมตร (nm)” ซึ่งความยาวคลื่นที่ต่างกัน มีผลต่อการดูดซึมพลังงานของ “โครโมฟอร์ (chromophore)” ที่ต่างกัน

แล้วเลเซอร์รอยดำสิวแบบไหนดีที่สุด ?

เบื้องต้นก็คงต้องตอบว่า Picosecond laser เพราะกำจัดได้ทุกเม็ดสีครับ แต่ก็ใช่ว่าจะดีที่สุดสำหรับทุกคนครับ เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาอีก ซึ่งก็ต้องให้แพทย์ซักประวัติกันก่อนครับ

คำแนะนำ

หากจะเลือกรักษารอยดำสิวด้วยการใช้เลเซอร์ มีข้อแนะนำเพิ่มเติม ดังนี้
 1. เครื่องเลเซอร์ต้องได้มาตรฐาน ผ่าน อย. ไทย หรือ สากล
2. หมอต้องมีประสบการณ์ในการรักษาด้วยเลเซอร์ มีรีวิวจากคนไข้จริงที่เชื่อถือได้
3. การรักษารอยดำจากสิว ควรเริ่มต้นไปพร้อมๆ กับการรักษาสิว เพราะตราบใดที่สิวยังไม่หาย และยังมีสิวใหม่ขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจมีรอยสิวใหม่ได้ครับ
4. หมอต้องเป็นคนยิงเลเซอร์ ไม่ใช่ให้พนักงานทำ เพราะหากตั้งค่าพลังงานผิด แย่หน่อย คือ ไม่เห็นผล เสียเงิน เสียเวลาเปล่า แต่แย่สุด คือ ยิงแล้วผิวไหม้ เครียดหนักกว่าเดิม
 
 

สำหรับคนที่กำลังมีปัญหารอยดำสิว สามารถทักแชทนัดคิวเข้ามาปรึกษาหมอก่อนตัดสินใจโดยไม่มีค่าใช้จ่ายครับ

ภาพตัวอย่างการรักษารอยดำสิว หรือ รอยด่างดำ บนผิวหนังโดยการใช้เลเซอร์

ตัวอย่างการรักษารอยดำสิว ควบคู่ไปกับการรักษาสิวที่เดอะ พรีม่า คลินิก
Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Twitter

ขอบคุณแหล่งอ้างอิงจาก

  1. Davis, E. C., & Callender, V. D. (2010). Postinflammatory hyperpigmentation: a review of the epidemiology, clinical features, and treatment options in skin of color. The Journal of clinical and aesthetic dermatology3(7), 20–31.

 

  1. Callender, V. D., St Surin-Lord, S., Davis, E. C., & Maclin, M. (2011). Postinflammatory hyperpigmentation: etiologic and therapeutic considerations. American journal of clinical dermatology12(2), 87–99. https://doi.org/10.2165/11536930-000000000-00000

 

  1. Patil, U. A., & Dhami, L. D. (2008). Overview of lasers. Indian journal of plastic surgery : official publication of the Association of Plastic Surgeons of India41(Suppl), S101–S113.

 

  1. Goldman L, Wilson RG, Hornby P, Meyer RC. Radiation From a Q-Switched Ruby Laser.J Invest Dermatol1965,44(1):69–71

 

  1. Anderson RR, Parrish JA. Microvascular Can be selectively Damaging Using Dye Lasers. A Basic Theory and Experimental Evidence in Human Skin.Lasers Surg Med1981, 1268–76

 

  1. Anderson RR, Farinelli W, Laubach H, et al. Selective photothermolysis of lipid-rich tissues: a free electron laser study. Lasers Surg Med. 2006;38(10):913–919.

 

  1. Levine VJ, Geronemus RG. Adverse effects associated with the 577 and 585 nanometer pulsed dye laser in the treatment of cutaneous vascular lesions: a study of 500 patients. J Am Acad Dermatol. 1995;32:613–617.

 

  1. Lee, S., Lee, T., Kim, H., Kim, J., Eun, H., & Kim, R. (2013). A practical comparison of Copper Bromide Laser for the treatment of vascular lesions. Annual International Conference of the IEEE Engineering in Medicine and Biology Society. IEEE Engineering in Medicine and Biology Society. Annual International Conference2013, 3765–3768. https://doi.org/10.1109/EMBC.2013.6610363

 

  1. Farkas, Jordan & Hoopman, John & Kenkel, Jeffrey. (2013). Five Parameters You Must Understand to Master Control of Your Laser/Light-Based Devices. Aesthetic surgery journal / the American Society for Aesthetic Plastic surgery. 33. 10.1177/1090820X13501174.

 

  1. Britt, C. J., & Marcus, B. (2017). Energy-Based Facial Rejuvenation: Advances in Diagnosis and Treatment. JAMA facial plastic surgery, 19(1), 64–71. https://doi.org/10.1001/jamafacial.2016.1435

 

  1. Shah, S., & Alster, T. S. (2010). Laser treatment of dark skin: an updated review. American journal of clinical dermatology, 11(6), 389–397. https://doi.org/10.2165/11538940-000000000-00000

Leave a comment