คงมีคนแย้งในใจว่า…ทำงานอยู่แต่ในบ้าน นอนดูซีรีย์ Netflix ไม่โดนแดด แล้วจะมีฝ้า มีกระ ได้ยังไง….หมอขอบอกว่า “ไม่จริงนะครับ!!!”
เพราะฝ้า กระ เกิดได้หลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลัก คือ รังสีนานาชนิด และที่สำคัญ หลายคนอยู่บ้านมักไม่ค่อยได้แต่งหน้า ทาครีมป้องกันรังสีเหล่านี้ ดีไม่ดี การอยู่บ้านจะได้ฝ้า กระ มากกว่าออกไปทำงานเสียด้วยซ้ำ
….วันนี้เรามารู้จักรังสีที่ทำให้เกิดฝ้ากระ และ วิธีป้องกัน ครับ
สรรสาระโดย นพ.วรุตม์ คุณาฤทธิพล (หมอช้อป)
– ปริญญาโท ตจวิทยา (ผิวหนัง)
– Dermatology Clinical Observership,
Jutendo University Hospital , Tokyo
– Fellowship in Anti-Aging Medicine
รังสียูวี (UV Light) ตัวการเกิดฝ้ากระ ที่ทุกคนรู้จักดี
รังสียูวี (UV light) หรือ รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet)
พบได้ในแสงแดด
มีปริมาณเพียง 5%
แบ่งเป็น 3 ชนิดหลัก คือ
รังสี UVA ->ลงไปทำลายผิวได้ลึกที่สุด ทำให้ผิวแก่กว่าวัย เกิด ฝ้า กระ ริ้วรอย (ทำลายถึงขั้น DNA ของเซลล์เลย ผลคือ ผิวเสื่อม คอลลาเจนหาย ตีนกาถามหา และอาจเกิดมะเร็งผิวหนังได้ )
รังสี UVB -> ผิวหนังแสบไหม้ ลอก แดง คล้ำ
รังสี UVC -> ถูกดูดซับในชั้นของโอโซนในชั้นบรรยากาศ
สรุป: ศัตรูตัวร้ายของผิว คือ รังสี UVA และ UVB (รังสี UVC ไม่ค่อยลงมาที่พื้นผิวโลก) ดังนั้น เราจึงต้องป้องกันรังสี 2 ชนิดนี้เป็นพิเศษ เพราะจะทำให้หน้าเรามีฝ้า กระ ริ้วรอย ครับ
รังสีอินฟราเรด (Infrared Light) อีกหนึ่งตัวการเกิดฝ้ากระ
รังสีอินฟราเรด (Infrared)
มีปริมาณถึง 95% (ร้ายกว่ารังสี UV ที่มีแค่ 5% ไปอี๊กกกกก )
พบได้ในแสงอาทิตย์ (Sun Radiation)
เป็นช่วงแสงที่ให้ความอบอุ่น
รังสีอินฟราเรด มี 3 ชนิด คือ
Infrared A, Infrared B และ Infrared C
ซึ่ง Infrared A นั้นเป็น “นางร้าย” ของเรื่อง เพราะ
ย่อยสลายคอลลาเจน (Collagen Breakdown)
เกิดผิวแก่ก่อนวัย (Photoaging)
รังสีอินฟราเรดเป็นสาเหตุหลักสำคัญในการทำลายผิวและทำให้เกิดปัญหาจุดด่างดำ ฝ้า กระ ริ้วรอยเหี่ยวย่น ความชรา รวมถึงเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติหรือมะเร็งผิวหนัง มีการศึกษาที่ใช้ยาทาซึ่งเป็นกลุ่มต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) เช่น Vitamin C, Ferulic acid และ Tocopherol พอช่วยป้องกันรังสี Infrared ได้ครับ
แสงสีฟ้า (Blue Light) ตัวการเกิดฝ้ากระ ที่คนคิดไม่ถึง
แสงสีฟ้า (Blue light) หรือ แสงในช่วงแสงที่มองเห็นได้ (Visible Light)
พบได้ใน
แสงที่มาจากมือถือ
แท็ปเล็ต จอคอมพิวเตอร์
กระตุ้นให้ผิวหนังมีสีเข้มได้ (Immediate Pigment Darkening, Persistent Pigment Darkening) โดยเฉพาะในผู้ที่มีผิวสีเข้ม (Fitzpatrick skin type IV-VI)
เป็นปัจจัยหนึ่งในการกระตุ้นให้ฝ้าเข้มขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่มีผิวสีเข้ม
ดังนั้นในการป้องกันแสงแดด อาจต้องใช้ยากันแดดที่สามารถป้องกันในส่วนของ Visible light ได้ด้วย
หลายท่านอาจจะสงสัยว่า Blue light หรือ แสงสีฟ้าจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือ มือถือ สามารถกระตุ้นฝ้าหรือผิวหมองคล้ำได้จริงเหรอหมอ ? หมอขอบอกว่า “อาจเกิดได้จริง” ครับ
หมอขออนุญาตนำภาพงานวิจัยหนึ่งที่น่าสนใจมากครับ เป็นการทดลองโดยนำหลอดไฟ Blue Light (ความยาวคลื่น 450 นาโนเมตร) มาลองฉายแสงไปที่ผิวของผู้หญิง 33 คน บริเวณต้นแขนด้านใน แล้วดูความเปลี่ยนแปลงของสีผิว ผลพบว่าผิวสีดำคล้ำและแดงเข้มขึ้นจริง
จากภาพจะเห็นได้ว่าแสงสีฟ้า (Blue light) สามารถทำให้ผิวสีดำคล้ำขึ้นได้จริง ดังนั้นเวลาเราอยู่บ้าน เล่นมือถือ หรือ work from home ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ เรายิ่งต้องระวังมากเป็นพิเศษนะครับ เพราะอาจกระตุ้นให้เราเป็นฝ้าจากการที่โดนแสงสีฟ้าและทำให้เม็ดสีของเราเข้มขึ้นโดยไม่รู้ตัว
วิธีดูแลตัวเองง่าย ๆ ห่างไกลฝ้ากระ เมื่ออยู่บ้าน
ดีที่สุด คือ ไม่ให้ผิวโดนแสงทุกชนิด ซึ่งก็คงเป็นไปไม่ได้ใช่ไหม ฮะฮ่า
วิธีง่ายกว่านั้นคือ
1. พยายามลดการเล่นมือถือ ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ (มีBlue Lightกระตุ้นฝ้า กระ) ซึ่งข้อนี้คงจะยาก สำหรับคนที่ต้องทำงาน
2. พยายามหลบเลี่ยงแสงแดด (มีรังสี UV5%, รังสีInfrared ถึง95% กระตุ้นฝ้า กระ)
3. ย้ำว่าแม้อยู่ในบ้านก็ควร “ทาครีมกันแดด” (เพราะ UV Is Everywhere นะครับ)
เทคนิคทาครีมกันแดดให้ได้ผลที่ดีคือ เลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF30 ขึ้นไป สามารถกันได้ทุกรังสี และใช้ในปริมาณที่เพียงพอครับ
ฉะนั้น
ถึงจะ Work From Home ก็อย่าลืม!! บำรุงผิวสม่ำเสมอ กลับมาทำงานอีกครั้งพร้อมผิวเนียนใสไร้รอยฝ้ากระ สวยหล่อทะลุแมสก์ ให้เพื่อนร่วมงานทักถามกันดีกว่าครับ
Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Twitter
ขอบคุณแหล่งอ้างอิงจาก
- Gupta, A., Avci, P., Dai, T., Huang, Y. Y., & Hamblin, M. R. (2013). Ultraviolet Radiation in Wound Care: Sterilization and Stimulation. Advances in wound care, 2(8), 422–437. https://doi.org/10.1089/wound.2012.0366
- Claire Regazzetti, Laura Sormani, Delphine Debayle, Françoise Bernerd, Meri K. Tulic, Gian Marco De Donatis, Bérengère Chignon-Sicard, Stéphane Rocchi, Thierry Passeron,Melanocytes Sense Blue Light and Regulate Pigmentation through Opsin-3,Journal of Investigative Dermatology,Volume 138, Issue 1,2018,Pages 171-178,ISSN 0022-202X,https://doi.org/10.1016/j.jid.2017.07.833.
- Aleksandra Cios, Martyna Ciepielak, Łukasz Szymański, Aneta Lewicka, Szczepan Cierniak, Wanda Stankiewicz, Mariola Mendrycka, Sławomir Lewicki, Effect of Different Wavelengths of Laser Irradiation on the Skin Cells, International Journal of Molecular Sciences, 3390/ijms22052437, 22, 5, (2437), (2021).
- Jahnna G. Coats, Briana Maktabi, Mariam S. Abou‐Dahech, Gabriella Baki, Blue light protection, part II—Ingredients and performance testing methods, Journal of Cosmetic Dermatology, 1111/jocd.13854, 20, 3, (718-723), (2020).
- Jahnna G. Coats, Briana Maktabi, Mariam S. Abou‐Dahech, Gabriella Baki, Blue Light Protection, Part I—Effects of blue light on the skin, Journal of Cosmetic Dermatology, 1111/jocd.13837, 20, 3, (714-717), (2020).
- Eric F. Bernstein, Harry W. Sarkas, Patricia Boland, Iron oxides in novel skin care formulations attenuate blue light for enhanced protection against skin damage, Journal of Cosmetic Dermatology, 1111/jocd.13803, 20, 2, (532-537), (2020).
- Kligman, A.M. Early destructive effect of sunlight on human skin. JAMA 210, 2377–2380 (1969).
- Hamed, S.M., Zinta, G., Klock, G., Asard, H., Selim, S. and AbdElgawad, H. Zinc‐induced differential oxidative stress and antioxidant responses in Chlorella sorokiniana and Scenedesmus acuminatus. Ecotoxicol. Environ. Saf. 140, 256–263 (2017).
- Skoczynska, A., Budzisz, E., Trznadel‐Grodzka, E. and Rotsztejn, H. Melanin and lipofuscin as hallmarks of skin aging. Postepy Dermatol. Alergol. 34, 97–103 (2017).
- Nkengne, A., Robic, J., Seroul, P., Gueheunneux, S., Jomier, M. and Vie, K. SpectraCam((R)): A new polarized hyperspectral imaging system for repeatable and reproducible in vivo skin quantification of melanin, total hemoglobin, and oxygen saturation. Skin Res. Technol. 24, 99–107 (2018).
- Lohan, S.B., Muller, R., Albrecht, S. et al. Free radicals induced by sunlight in different spectral regions ‐ in vivo versus ex vivo study. Exp. Dermatol. 25, 380–385 (2016).
- Choi, W., Yin, L., Smuda, C., Batzer, J., Hearing, V.J. and Kolbe, L. Molecular and histological characterization of age spots. Exp. Dermatol. 26, 242–248 (2017).
- Campiche S. J. Curpen V. Lutchmanen‐Kolanthan S. Gougeon M. Cherel G. Laurent M. Gempeler R. Schuetz.Pigmentation effects of blue light irradiation on skin and how to protect against them.01 June2020 . https://doi.org/10.1111/ics.12637