หลายคนมีคำถามเกี่ยวกับการให้วิตามินผ่านสายน้ำเกลือ หรือ ดริปผิว ฉีดผิว เช่น
– ขาวจริงไหม
– ขาวครั้งแรกเลยไหม
– อันตรายไหม
– มีผลต่อตับไตไหม
หมอช้อป แพทย์ประจำ เดอะ พรีม่า คลินิก จะมาไขข้อข้องใจให้ครับ
สรรสาระโดย นพ.วรุตม์ คุณาฤทธิพล (หมอช้อป)
- ปริญญาโท ตจวิทยา (ผิวหนัง)
- Dermatology Clinical Observership,
Jutendo University Hospital , Tokyo - Fellowship in Anti-Aging Medicine
- Board Certified American Board of Anti-Aging and Regenerative Medicine
ก่อนอื่น หมอขอแสดงภาพผลของอนุมูลอิสระต่อผิวหนังของเรา เช่น แสงแดด ฝุ่นควัน ความเครียดบ่อยๆ ที่ส่งผลให้ผิวหนังเกิดความเสื่อม ขาดความชุ่มชื้นดูแห้งหมองคล้ำจากสารไฮยาลูโลนิกที่หายไป เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นจากเส้นใยคอลลาเจนและอิลาสตินที่เสื่อมไปตามกาลเวลา
ซึ่งการให้วิตามินที่เหมาะสมกับร่างกายสามารถช่วยให้ผิวนุ่มนวล กระจ่างใสได้ครับ
ปกติมักรับการรักษาทุก 1-2 สัปดาห์/ครั้ง
แล้วถ้าหากให้ปริมาณมากเกินไปหรือถี่เกินไปล่ะ จะมีผลอะไรมั้ย ?
อาจเกิดผลเสียตามมาได้ครับ เช่น หากให้วิตามินซีถี่เกินไปหรือมากไป อาจเกิดภาวะวิตามินซีเกินขนาด และมีอาการบางอย่างตามมาได้ เช่น
1. ถ่ายเหลว
2. คลื่นไส้อาเจียน
3. ภาวะธาตุเหล็กเกิน (hemochromatosis) วิตามินซีจะเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กที่ลำไส้ ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อ ตับ หัวใจ หรือ ไต ได้
4. นิ่วที่ไต (Oxalate Stone)
ดังนั้นเราควรได้รับสารเหล่านี้ในขนาดที่เหมาะสมครับ
เคยได้ยินว่าให้ “กลูต้า” แล้วผิวขาวเร็วมาก มันดีจริงมั้ย ?
บางที่อาจใช้สารที่ชื่อว่า “กลูต้าไธโอน” หรือ ที่คุ้นหูว่า”กลูต้า” ซึ่งสารชนิดนี้ยัง “ไม่ผ่าน“ การอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ในการให้ทางหลอดเลือด
หากบางที่มีการผสมสารนี้ลงไป อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ครับ เช่น เกิดอาการแพ้รุนแรง ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ไตวาย หรือ ตับอักเสบ ได้
สารกลูต้าไธโอนในการรักษาฝ้า และทำให้ผิวขาวเปล่งปลั่งเหมือนมีแสงออร่านั้น ยังไม่มีข้อมูลยืนยันทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้สารนี้ที่ใช้รักษาโรคอื่นแล้วผิวขาวขึ้นชั่วคราวเท่านั้น เมื่ออาการข้างเคียงหายไป เม็ดสีที่ผิวหนังก็จะกลับเข้มขึ้นดังธรรมชาติเดิม
ดังนั้น จึงไม่ควรให้ “กลูต้าไธโอน”ทางหลอดเลือด แม้จะขาวไว แต่อันตรายก็มากเช่นกัน ดังนั้นควรถามคุณหมอ หรือ เจ้าหน้าที่ ก่อนทำการรักษาทุกครั้งว่ามีสารนี้หรือไม่
งานวิจัยเกี่ยวกับการให้วิตามินทางหลอดเลือด (ดริปวิตามิน)
มีงานวิจัยหนึ่งน่าสนใจมาก เป็นการรักษารอยดำบนใบหน้าด้วยการผลักวิตามินซีลงสู่ผิว เทียบกับ การให้ทางหลอดเลือด นี่คือ ภาพก่อนการรักษาครับ
หลังการรักษารอยดำด้วยวิธีแรก คือ ผลักวิตามินซีลงผิวหนังด้วยเครื่อง Iontophoresis (ไอออนโต) ถึง 11 ครั้ง พบว่ารอยดำจางลงน้อยมาก
แต่เมื่อรักษาด้วยการผลักวิตามินซีลงผิวหนังด้วยเครื่อง Iontophoresis (ไอออนโต)
ครั้งที่ 12 และ เริ่มการรักษาด้วยการให้วิตามินซีทางหลอดเลือดจำนวน 3 ครั้ง
ปรากฎว่า –> รอยดำจางลงชัดเจน และ ผิวโดยรอบขาวกระจ่างใสขึ้น
จึงพอสรุปได้ว่า การให้วิตามินผ่านหลอดเลือด หรือ การดริปผิวนั้น ทำให้ผิวเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ดริปวิตามินผิว หรือ ฉีดผิว เห็นผลเมื่อไหร่
จากสถิติคนไข้ที่มาดริปวิตามิน หรือ ฉีดผิวใส ที่ เดอะ พรีม่า คลินิก แล้วพบว่า
ฉีดครั้งแรก จะรู้สึกถึงความนุ่มลื่นของผิว แต่ยังไม่ช่วยเรื่องความกระจ่างใส
ฉีดต่อเนื่อง ทุก 1-2 สัปดาห์ติดกันประมาณ 3-4 ครั้ง จะเห็นถึงความแตกต่าง ผิวแลดูกระจ่างใส รู้สึกได้ว่าผิวละเอียด เรียบเนียนขึ้น
ฉีดติดต่อกัน 5-6 ครั้ง (ในคนที่ผิวไม่คล้ำมาก) และ ประมาณ 8-10 ครั้ง (ในคนที่ผิวคล้ำ) จะเห็นความแตกต่างชัดเจน ฝ้ากระแลดูจางลง ผิวแข็งแรงขึ้น หากต้องออกแดดแรง ๆ แล้วจะไม่ค่อยรู้สึกแสบแดงเหมือนเดิม
ทั้งนี้ขึ้นกับการตอบสนองกับยาในแต่ละบุคคล และแนะนำทำต่อเนื่องทุก 1-2 สัปดาห์ หากต้องการคงลัพธ์ต่อเนื่องยาวนาน
แล้วที่เห็นโฆษณากันว่าฉีดผิวในราคาไม่กี่ร้อยบาท หรือบางครั้งแจกฟรี จะเห็นผลตั้งแต่ครั้งแรกไหม?
แต่ถ้าเห็นโฆษณาว่า “ฉีดวิตามินผิวขาวขั้นสุด ขาวเร็ว ขาวไวตั้งแต่ครั้งแรก”
คำตอบ คือ มั่วนิ่ม ครับ
ยาที่มีราคาถูกจนเกินไป อาจมีส่วนผสมของยาที่อันตรายได้
หรือ
อาจผสม “กลูต้าไธโอน” ที่แม้จะขาวไว แต่อันตรายก็มากเช่นกัน ดังนั้นควรถามคุณหมอ หรือ เจ้าหน้าที่ ก่อนทำการรักษาทุกครั้งว่ามีสารนี้หรือไม่
อย่างไรก็ดี แม้ว่าการฉีดผิวขาว หรือ ดริปวิตามินผิว จะปลอดภัย และเห็นผล แต่ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้มีประสบการณ์ และ สถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย เช่น ยาไม่ได้อย. ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสีย เช่น เกิดการแพ้ หรือ ตับ/ไต อักเสบ เป็นต้น
เพียงเท่านี้เราก็จะดูดีได้อย่างปลอดภัยครับ
รีวิว การดริปวิตามินผิวออร่า ที่ เดอะ พรีม่า คลินิก
หลังการให้วิตามินผิวสูตรเพิ่มความเนียนใส (Aura White IV drip) จำนวน 2 ครั้ง
หลังการให้วิตามินผิวสูตรเพิ่มความเนียนใส (Aura White IV drip) จำนวน 4 ครั้ง
หลังการให้วิตามินผิวสูตรเพิ่มความเนียนใส (Aura White IV drip) จำนวน 5 ครั้ง
ข้อมูลแหล่งอ้างอิงจาก
- https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/139/กลูตาไธโอน-Glutathione-ตอนที่2-ยาฉีด-ยากิน-และยาทา/
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2645136/…
Lee, Georgia. (2008). Intravenous vitamin C in the treatment of post-laser hyperpigmentation for melasma: A short report. Journal of cosmetic and laser therapy : official publication of the European Society for Laser Dermatology. 10. 234-6. 10.1080/14764170802187193. - Davids, Lester & van Wyk, Jennifer & Khumalo, Nonhlanhla. (2016). Intravenous glutathione for skin lightening: Inadequate safety data. South African medical journal = Suid-Afrikaanse tydskrif vir geneeskunde. 106. 782-786. 10.7196/SAMJ.2016.v106i8.10878.
- Pham-Huy, L. A., He, H., & Pham-Huy, C. (2008). Free radicals, antioxidants in disease and health. International journal of biomedical science : IJBS, 4(2), 89–96.
- M. Irshad, P.S. ChaudhuriOxidant–antioxidant system: role and significance in human bodyIndian J Exp Biol, 40 (2002), pp. 1233-1239
- V.K. Gupta, S.K. SharmaPlants as natural antioxidantsNat Prod Rad, 5 (4) (2006), pp. 326-334
- X. MaxwellAntioxidant therapy: does it have a role in treatment of human diseases?Exp Opin Investig Drugs, 6 (1997), pp. 211-236
- J.G. ScandaliosOxidative Stress and the Molecular Biology of Antioxidant DefencesCold Spring Harbor Laboratory Press, New York (1997), pp. 1-890
- A.K. Tiwari Imbalance in antioxidant defence and human diseases: multiple approach of natural antioxidant therapyCurr Sci, 81 (9) (2001), pp. 1179-1187
- D. Warner, H. Sheng, I. Batini-HaberleOxidants, antioxidants and the ischaemic brain J Exp Biol, 207 (18) (2004), pp. 3221-3231
- M. Naziroglu, P. Butterworth Protective effects of moderate exercise with dietary vitamin C and E on blood antioxidative defence mechanism in rats with streptozotocin-induced diabetes Can J Appl Physiol, 30 (2) (2005), pp. 172-185
- I. Elmadfa, A. Meyer Body composition, changing physiological functions and nutrient requirements of the elderly Ann Nutr Metab, 52 (1) (2008), pp. 2-5
- Meyers DG, Maloley PA, Weeks D. Safety of Antioxidant Vitamins. Arch Intern Med. 1996;156(9):925–935. doi:10.1001/archinte.1996.00440090015002
- Schlueter, A. K., & Johnston, C. S. (2011). Vitamin C: Overview and Update. Journal of Evidence-Based Complementary & Alternative Medicine, 16(1), 49–57.
- https://doi.org/10.1177/1533210110392951