fernblock เฟิร์นบล็อค เฮลิโอแคร์ heliocare
March 18, 2022

อัศจรรย์แห่งเฟิร์น กันแดด กันแก่

จากงานวิจัยด้านการปกป้องผิวจากแสงแดด (Photoprotection) ณ ปัจจุบันพบว่า แสงแดดที่ทำลายเซลล์ผิวไม่ได้มีเพียงแค่ UVA และ UVB เหมือนที่เข้าใจมาในอดีตแล้ว
แต่ยังมี Visible Light หรือ Blue Light ที่เป็นแสงจากมือถือ Tablet 📲จอComputer👩‍💻และ Infrared 🔆 ซึ่งมีปริมาณถึง 95% จากรังสี Sun Radiation เป็นสาเหตุหลักสำคัญในการทำลายผิวและทำให้เกิดปัญหาจุดด่างดำ ฝ้า กระ ริ้วรอยเหี่ยวย่น ความชรา รวมถึงเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติหรือมะเร็งผิวหนัง ในขณะที่ UVA และ UVB ที่เราคุ้นหูกันดี กลับมีส่วนในการทำลายผิวเพียง 5% เท่านั้น
แต่ไม่ต้องกังวลใจไปครับ เพราะเรายังมีสารสกัดจากธรรมชาติที่จะมาช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด อนุมูลอิสระ และรังสีทุกตัวที่ทำร้ายผิว ครอบคลุมผิว 360 องศา นั่นคือ สารสกัดจาก “ใบเฟิร์น🌿” สายพันธุ์ PLE (Polypodium Leucotomos Extract ) –> เรียกง่ายๆว่า “FernBlock” ครับ

สรรสาระโดย 👨🏻‍⚕️ นพ.วรุตม์ คุณาฤทธิพล (หมอช้อป)
– ปริญญาโท ตจวิทยา (ผิวหนัง)
– Dermatology Clinical Observership,
Jutendo University Hospital , Tokyo
– Fellowship in Anti-Aging Medicine

จุดเด่นของ Fernblock

📌ความโดดเด่นของเจ้า “FernBlock🌿“มีอะไรบ้าง!?
✅ ส่วนผสมหลักคือสารสกัดจาก “ใบเฟิร์น🌿
สายพันธุ์PLE (Polypodium Leucotomos Extract ) –> เรียกง่ายๆว่า “FernBlock🌿
✅เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ 🌱ที่ได้จาก เฟิร์นสายพันธุ์ Polypodium Leucotomos พืชพื้นเมืองทางอเมริกากลาง ซึ่งเป็นพืชน้ำที่มีกลไกพิเศษในการปรับตัวขึ้นมาอยู่บนบก มีคุณสมบัติที่ทำให้ทนทานต่อแสงแดดได้ดี
✅ มีหลักฐานทางการแพทย์ที่สนับสนุนอย่างกว้างขวางในด้านความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จดทะเบียนกับ FDA สหรัฐอเมริกาสำหรับการใช้งานทั้งจากมนุษย์และสัตว์
FernBlock มีประโยชน์ คือ
🌿ป้องกันรังสี UVA (สาเหตุของฝ้า กระ)
🌿ป้องกันรังสี UVB (สาเหตุผิวไหม้แดด หมองคล้ำ แสบร้อน)
🌿ต้านอนุมูลอิสระ
🌿ป้องกันการทำร้ายของเเดดต่อผิวหนัง
🌿ปกป้องผิวหนังในระดับ DNA
🌿ทำให้ร่างกายทนแดดได้นานมากขึ้นถึง 3 เท่า(MED 3X)
🌿ทนดำได้นานมากขึ้น 3-7 เท่า (MPD 3-7X)
🌿กระตุ้นการสร้าง Fibroblast ทำให้กระตุ้นการสร้าง Collagen 

การวิจัยเกี่ยวกับ Fernblock

มีข้อมูลการศึกษา FernBlock และ ตัวอย่างการรักษาโรคในวงการแพทย์ เช่น การรักษาดังต่อไปนี้
🔸️ ฝ้า (Melasma)
🔸️ ด่างขาว (Vitiligo)
🔸️ ผื่นแพ้แดด (Photodermatitis)
🔸️ โรคก่อนมะเร็งผิวหนัง (Actinic Keratosis) 
ตัวอย่างของงานวิจัยเกี่ยวกับ FernBlock ในการรักษาฝ้า
⬆️ภาพบน
คนไข้กินยาหลอกที่ไม่มีส่วนผสมของเฟิร์นนาน 3 เดือน ฝ้าเท่าเดิม

⬇️ภาพล่าง
คนไข้กินวิตามินที่สกัดจากเฟิร์น นาน 3 เดือน ฝ้าจางลงอย่างชัดเจน
Fernblock ลดการเกิดเม็ดสี:
มีการศึกษากลุ่มคนสุขภาพดีที่รับประทาน Fernblock และโดน UVA พบว่าคนที่รับประทาน Fernblock เม็ดสีเกิดขึ้นน้อยกว่า โดยมีรอยดำหรือรอยแดงเกิดขึ้นน้อยกว่าการไม่ได้รับประทาน
Fernblock ลดฝ้าได้:
มีการศึกษากลุ่มคนที่เป็นฝ้า รับประทาน Fernblock 240 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ควบคู่กับการทากันแดดเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบกว่าคนที่รับประทาน Fernblock ฝ้าลดลงมากกว่าคนที่ไม่ได้รับประทานเกือบ 50% 
Fernblock มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้ในมนุษย์ โดยมีการใช้ในมนุษย์มากว่า 30 ปี และประวัติการบริโภคของคนในท้องถิ่นที่มียาวนาน (มีข้อมูลศึกษาการรับประทานต่อเนื่องยาวนาน 6 เดือน) โดยผลการศึกษาระบุว่า “ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใน Parameter ดังกล่าวที่ใช้ประเมิน” ข้อมูลดังกล่าวยืนยันถึงความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
Fernblock เป็นสารสกัดนวัตกรรมที่จดลิขสิทธิ์ของ Cantabria Labs หนึ่งเดียวในโลกเท่านั้น คิดค้นและวิจัยโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังระดับโลก Dr. Fitzpatrick บิดาของ Modern Dermatology / Dr.Pathak แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน Photoprotection จาก Harvard Medical School 
Fernblock ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ Heliocare ได้จากการปลูกในสภาวะควบคุมของโรงเพาะพิเศษของ Cantabria Labs เท่าน้้น ด้วยมาตรฐานการผลิต GMP ของโรงงานผลิตยาของยุโรป ถือว่าเป็นตัวเดียวที่มีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์มากที่สุดในโลกกว่า 250 ฉบับ
ฉะนั้น ใครที่ต้องโดนแสงแดดเป็นประจำ คนที่มีฝ้ากระ หรือ คนที่ต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกวัน การทาครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของ Fernblock ควบคู่ไปกับการรับประทาน Fernblock ก็จะช่วยลดการเกิดเม็ดสีผิดปกติ และ ป้องกันผิวแก่ก่อนวัยได้นะครับ
Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Twitter

ขอบคุณแหล่งอ้างอิงจาก

Goh, C. L., Chuah, S. Y., Tien, S., Thng, G., Vitale, M. A., & Delgado-Rubin, A. (2018). Double-blind, Placebo-controlled Trial to Evaluate the Effectiveness of Polypodium Leucotomos Extract in the Treatment of Melasma in Asian Skin: A Pilot Study. The Journal of clinical and aesthetic dermatology, 11(3), 14–19.

Leave a comment