ใครเกิดมาไม่มีสิวถือเป็นลาภอันประเสริฐอย่างหนึ่ง แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีลาภนี้ครับ (เหมือนซื้อหวยให้ถูกรางวัลที่ 1 นั่นแหละครับ)
ฉะนั้นไม่ต้องน้อยเนื้อต่ำใจ…เรามาหาทางเคลียร์มันออกจากชีวิตอย่างถูกวิธีกันดีกว่า
แค่กดสิว / บีบออก ไม่ได้ทำให้หาย หนำซ้ำกดผิดชีวิตเปลี่ยน เพราะอาจหน้าพัง ติดเชื้อ ทิ้งรอยดำ และ เป็นหลุมสิวได้
ก่อนอื่นเราต้องแยกประเภทสิวก่อนครับ ถึงจะเห็นแนวทางรักษา หลัก ๆ สิวมี 2 ประเภทครับ คือ
1️. สิวไม่อักเสบ (Non-Inflammatory Acne)
รักษาด้วยการ “กดสิว” ได้
สิวไม่อักเสบ หรือสิวอุดตัน มีทั้งสิวไม่มีหัว สิวเสี้ยน ฯลฯ
เกิดจากการอุดตันของรูขน เรียกว่า comedone (ductal hypercornification) มี 2 ชนิด คือ สิวหัวเปิด และ สิวหัวปิด
1.1 สิวอุดตันหัวเปิด (Open / Black head comedone) ตรงยอดมีรูเปิดและมีก้อนสีดำอุดอยู่
กดสิวได้
1.2 สิวอุดตันหัวปิด (Close / White head comedone) จะนูนขึ้นมาจากผิวเหมือนเป็นไขมันอุดตันแต่ไม่มีรูเปิด เป็นตุ่มกลมเล็กแข็งสีขาวจะเห็นชัดขึ้นเมื่อดึงผิวหนังให้ตึงหรือโดยการคลำ
ควรทายาละลายหัวสิวก่อนกด นาน 3-4 สัปดาห์ จึงกดสิวได้
……………………………………………..
2️. สิวอักเสบ (Inflammatory Acne)
มักรักษาด้วยการ “ฉีดสิว”
สิวอักเสบ คือ สิวที่เกิดอาการบวมแดง และกดแล้วเจ็บ แบ่งเป็น
2.1) สิวอักเสบ นูนแดงขึ้นมาเล็กน้อย (Papule)
ฉีดสิวได้
2.2) สิวอักเสบ มีหัวหนองให้เห็นชัดเจน (Pustule)
แนะนำเป็นยาทาในกลุ่มยาฆ่าเชื้อ หรือ ยาละลายหัวสิวเพื่อลดการอักเสบของสิว
ไม่แนะนำให้ฉีดสิว
2.3) สิวอักเสบ หรือสิวหัวช้าง สิวซีสต์ (Nodule / Cyst)
รุนแรงที่สุด เพราะคอลลาเจนถูกทำลายอาจกลายเป็นหลุมสิว ควรพบแพทย์เพื่อรักษาเร่งด่วน
ควรให้แพทย์พิจารณาว่าฉีดสิวได้หรือไม่
1. การกดสิว
ไม่ใช่การใช้มือบีบสิวนะครับ หมอไม่แนะนำให้บีบ เพราะเสี่ยงติดเชื้อ ทิ้งรอยดำนาน และอาจเป็นหลุมสิวถาวรได้
การกดสิวเป็นการใช้เครื่องมือแพทย์กด ทำให้สิวอุดตันหัวเปิดหลุดออกมา ซึ่งช่วยลดการสะสมของไขมันในรูขุมขน แต่ถ้ายังเป็นสิวอุดตันหัวปิดควรทำการละลายหัวสิวก่อนเพื่อให้กดง่ายขึ้น
……………………………………………..
แล้วเราจะกดสิวเมื่อไหร่
กดสิวเมื่อเป็น “สิวอุดตัน” ครับ
ห้ามกดในสิวอักเสบ
……………………………………………..
การ กดสิวบ่อย ๆ อันตรายหรือไม่
ไม่เป็นอันตรายในระยะยาวครับ
ไม่ใช่วิธีที่ทำให้สิวหายขาด เป็นเพียงวิธีที่ทำให้หัวสิวที่เราไม่ชอบหลุดออกได้เร็วทันทีครับ
……………………………………………..
ผลข้างเคียงของการกดสิว คืออะไร
หากกดผิดวิธี หรือ ใช้เครื่องมือที่ไม่สะอาด อาจทำให้เกิดรอยดำสิวมากขึ้น หรือ เกิดการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น
อาจทำให้โพรงขนเสียหายการกลับมาเป็นสิวอุดตันได้ง่ายขึ้น
……………………………………………..
ข้อแนะนำ
1. การกดสิวนั้นควรทายาละลายหัวสิวก่อนกด นาน 3-4 สัปดาห์ เพื่อให้หัวสิวนิ่มถูกกดออกได้ง่าย ไม่เจ็บ และป้องกันการเกิดรอยดำหลังกดสิว หากกดแรงหรือกดผิดวิธี
2. ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และ ใช้เครื่องมือที่สะอาด ไม่ควรซื้อไม้มากดเอง เพราะอาจเกิดการติดเชื้อหรือเป็นรอยดำเพิ่มมากขึ้นได้
2. การฉีดสิว
เป็นการลดการอักเสบของสิวโดยแพทย์จะทำการฉีดตัวยาไปตรงสิว โดยสิวจะค่อย ๆ ยุบ และหายเจ็บในเวลา 2-3 วัน
มักใช้ในสิวชนิด “สิวอักเสบ” ครับ
อย่างไรก็ตามเมื่อสิวยุบแล้วเราต้อง “กดสิวหรือใช้ยาทาสิว” ร่วมด้วย เพราะการฉีดสิวแค่ช่วยให้ผิวหนังบริเวณที่อักเสบยุบตัวลง แต่หัวสิวยังอยู่ (ซึ่งช่วงที่สิวกำลังปวดอักเสบเรายังไม่ควรไปกดออก เพราะอาจทำให้ปวดมากและทำให้หนองกระจายมากขึ้นได้)
ถ้าเราไม่ฉีดแล้วปล่อยให้สิวอักเสบไว้นานๆ หนองจะกินผิวหนังบริเวณนั้น ทำให้กลายเป็นหลุมสิวได้
……………………………………………..
เราจะฉีดสิวเมื่อไหร่
เราจะฉีดในรายที่ตุ่มสิวอักเสบที่เกิดขึ้นไม่เกิน 2 สัปดาห์ เพื่อลดการอักเสบและลดการเกิดแผลเป็น
……………………………………………..
การฉีดสิวบ่อยๆ อันตรายหรือไม่
ไม่เป็นอันตรายในระยะยาวครับ เพราะโดส (Dose) ของยาที่ฉีดมีปริมาณน้อยมาก
……………………………………………..
ผลข้างเคียงของการฉีดสิว คืออะไร
หากใช้ตัวยาความเข้มข้นไม่เหมาะสม หรือฉีดในปริมาณที่ไม่เหมาะสมกับขนาดของสิวจะทำให้เกิดรอยบุ๋มได้
หากเกิดรอยบุ๋มนั้นไม่จำเป็นต้องรักษาอะไร ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2-3 เดือน เนื้อจะตื้นขึ้นมาเองได้ครับ
สรุป
“การกดสิว” และ “การฉีดสิว” นั้น ไม่เป็นอันตรายครับ แต่เป็นการรักษาสิวที่ปลายเหตุเท่านั้น!!! เหมือนเราปวดหัวแล้วกินยาแก้ปวด ซึ่งแก้ไม่ตรงจุด
การรักษาสิวที่ถูกต้องควรหาสาเหตุของโรคก่อนเสมอ เช่น เป็นสิวจากฮอร์โมน สิวจากการใส่หน้ากากอนามัย สิวจากเครื่องสำอาง หรือ จากสาเหตุอื่น ๆ อย่างไรก็ดี การรักษาสิวแนะนำว่าควรเริ่มจากการทายาก่อนเสมอ (หากเป็นสิวไม่มาก) และอาจรับประทานยา (หากเป็นสิวมาก) ซึ่งควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
นอกจากนี้ เราควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ร่วมด้วย คือ ต้องช่วยกันทั้งหมอและคนไข้ครับเราจะได้มีผิวที่เนียนหล่อสวยไร้สิวกันครับ
หากใครมีข้อสงสัย เช่น เป็นสิวมานาน รักษามาทุกวิธี แต่ก็ไม่หายซักที ก็ลองเข้ามาปรึกษาหมอได้ที่เดอะ พรีม่า คลินิก ครับ ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ
สาระความงามที่เกี่ยวข้อง
ขอบคุณแหล่งอ้างอิงจาก
1. www.cmaj.ca/lookup/suppl/doi:10.1503/cmaj.140665/-/DC1
2. http://www.dst.or.th/files_news/Acne_2010.pdf (แนวทางการดูแลรักษาโรค Acne สมาคมโรคผิวหนังแห่งประเทศไทย)
3. Zaenglein, Andrea & Pathy, Arun & Schlosser, Bethanee & Alikhan, Ali & Baldwin, Hilary & Berson, Diane & Bowe, Whitney & Graber, Emmy & Harper, Julie & Kang, Sewon & Keri, Jonette & Leyden, James & Reynolds, Rachel & Silverberg, Nanette & Gold, Linda & Tollefson, Megha & Weiss, Jonathan & Dolan, Nancy & Sagan, Andrew & Bhushan, Reva. (2016). Guidelines of care for the management of acne vulgaris. Journal of the American Academy of Dermatology. 74. 10.1016/j.jaad.2015.12.037.
4. Oon, H. H., Wong, S. N., Aw, D., Cheong, W. K., Goh, C. L., & Tan, H. H. (2019). Acne Management Guidelines by the Dermatological Society of Singapore. The Journal of clinical and aesthetic dermatology, 12(7), 34–50.
5. https://www.oatext.com/antimicrobial-peptides-novel…