Radiesse เรเดียส ชลบุรี
December 8, 2023

เรเดียส (Radiesse) 100 คลินิกแรกในไทย ที่แรก ชลบุรี

เรเดียส เดอะ พรีม่า คลินิก

ทำความรู้จัก Radiesse (เรเดียส) หรือ Regenerative Biostimulator  สารฉีดสร้างเส้นใยตาข่ายผิวใหม่ ที่จะช่วยให้ผิวเฟิร์ม เด้งฟู ดูอ่อนเยาว์ ยาวนานถึง 2 ปี

บทความโดย  นพ. วรุตม์ คุณาฤทธิพล (หมอช้อป)

– ปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาตจวิทยา (ผิวหนัง) สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

-Dermatology Clinical Observership, Jutendo University Hospital , Tokyo

– Fellowship วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

– Board Certified American Board of Anti-Aging and Regenerative Medicine

สารบัญเนื้อหา

Radiesse (เรเดียส) คืออะไร และ สำคัญอย่างไร ?

เมื่อเราอายุมากขึ้น สัญญาณแห่งวัยจะปรากฏให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น โครงสร้างผิวหนังโดยเฉพาะชั้นหนังแท้เริ่มสูญเสียองค์ประกอบสำคัญที่มีส่วนต่อความสมบูรณ์ของชั้นผิวหนัง อันได้แก่ คอลลาเจน type 1 & 3, อีลาสติน , สารน้ำหล่อเลี้ยงผิว รวมทั้งสารอาหารที่หล่อเลี้ยงผิว ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความแข็งแรง ความกระชับ และความยืดหยุ่นของผิวหนัง 

เมื่อโครงสร้างค้ำยันผิวไม่แข็งแรง ผิวจึงเกิดริ้วรอยและหย่อนคล้อย ทำให้ดูมีอายุ ดังนั้นถ้าอยากให้ผิวมีสุขภาพดีขึ้น ใบหน้าดูอ่อนเยาว์มากขึ้น จำเป็นต้องมีการฟื้นฟูองค์ประกอบสำคัญของชั้นผิวหนังที่ลดลงไปตามธรรมชาติให้มีมากขึ้นนั้นเอง

ในแวดวงการแพทย์ความงามได้มีการคิดค้นและวิจัยเพื่อการชะลอความเสื่อมของผิวมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนได้ค้นพบกับ Regenerative Biostimulator หรือ สารฉีดกระตุ้นการสร้างเส้นใยผิวใหม่แบบครบถ้วน 5 ประการ เพียงตัวเดียวเท่านั้น ที่มีสารสำคัญในการออกฤทธิ์คือ CaHA microsphere (คา-ฮ่า ไมโครสเฟียร์) ที่มีรูปร่างและขนาดที่เป็นเอกลักษณ์ นั่นคือ มีลักษณะเป็นทรงกลม ขนาดอนุภาคสม่ำเสมอกันอยู่ในช่วง 25-45 ไมครอน ส่งผลให้ฟื้นฟูการทำงานของ Fibroblast ทำให้มีการกระตุ้นสร้างสารสำคัญทั้ง 5 ตัวทีมีส่วนช่วยให้ผิวสุขภาพดี ดูอ่อนเยาว์ ได้ยาวนาน

CaHA Microsphere คาฮ่า ไมโครสเฟียร์

Radiesse (เรเดียส) มีหลักการทำงานอย่างไร ?

Regenerative Biostimulator เป็นสารฉีดบริเวณผิวหนังที่ไม่ใช่กรดไฮยาลูโรนิก ปริมาตร 1.5 ซีซี มีส่วนประกอบหลักของ CaHA (Calcium Hydroxylapatite -แคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์) ที่สังเคราะห์ขึ้นกระจายตัวอยู่ในเจล มีส่วนประกอบของน้ำ (น้ำกลั่นสำหรับยาฉีด USP), กลีเซอริน (USP), Sodium Carboxymethylcellulose (โซเดียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส) (USP) โดยเจลจะถูกปลดปล่อยในชั้นผิวและจะถูกเนื้อเยื่ออ่อนเจริญแทนที่ ในขณะที่ CaHA จะยังคงอยู่ในบริเวณที่ฉีด ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือการฟื้นฟูสภาพผิวและการเติมเต็มเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของผิวหนังแบบระยะยาวที่กึ่งถาวร

เรเดียส ดียังไง

ส่งผลให้กระตุ้นการสร้าง “เส้นใยตาข่ายผิว” ครบทั้ง 5 ประการ ที่มีส่วนสำคัญต่อผิวสุขภาพดี ได้แก่

  1. +150% Collagen Type I 1,2 ผิวเฟิร์มกระชับ
  2. +130% Collage Type III 1,2 ผิวเต่งตึง แข็งแรง
  3. +260+ Elastin 1,2,3 ติดสปริงผิว ยืดหยุ่น นุ่มเด้ง
  4. Proteoglycan 2,4,5 สารน้ำหล่อเลี้ยงผิว ช่วยให้ผิวอิ่มน้ำ ฟู ฉ่ำ
  5. Angiogenesis 1,3 สารอาหารหล่อเลี้ยงผิว ช่วยให้ผิวสุขภาพดี อมชมพู

Radiesse (เรเดียส) เหมาะกับใคร ?

Radiesse เรเดียส เหมาะกับใคร
  1. ท่านที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป
  2. ผิวเริ่มสูญเสียคอลลาเจน อีลาสติน สุขภาพผิวไม่ดี ขาดการบำรุง
  3. ใบหน้าหย่อนคล้อย กรอบหน้าไม่ชัด
  4. ผิวหนังขาดความชุ่มชื้น หมองคล้ำ
  5. มีร่องลึกต่างๆ บนใบหน้า เช่น ร่องแก้ม ร่องน้ำหมาก รอยย่นรอบปาก ขมับตอบ
  6. ต้องการแก้ปัญหาเรื่องความเหี่ยวย่นบริเวณข้างแก้ม รอบปาก หลังมือ ลำคอ เนินอกสำหรับผู้หญิง
  7. ต้องการผลลัพธ์ดูเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องทำบ่อย ผลลัพธ์นานถึง 2 ปี

Radiesse (เรเดียส) ฉีดจุดไหนได้บ้าง ?

  1. ร่องแก้ม
  2. ร่องน้ำหมาก
  3. หน้าแก้ม
  4. กรอบหน้า : ช่วยทำให้กรอบหน้าคมชัดยิ่งขึ้น ช่วยให้หน้ายกกระชับขึ้น
  5. ขมับ : ช่วยแก้ปัญหาขมับตอบ ที่ทำให้ดูมีอายุ เสียโหงวเฮ้ง
  6. หลังมือ : มือเป็นอีกตำแหน่งที่ทำให้ดูมีอายุ จากการสูญเสียไขมัน ทำให้เห็นเส้นเอ็นและเส้นเลือดชัดเจน การฉีด Regenerative Biostimulator ก็จะให้ผลลัพธ์ที่เป็นธรรมชาติครับ
  7. เนินอก: เพื่อแก้ปัญหาผิวย่นบริเวณเนินอก ทำให้คุณผู้หญิงสามารถใส่เสื้อโชว์เนินอกได้อย่างมั่นใจ

บริเวณใดบ้าง ที่ไม่ควรฉีด Radiesse (เรเดียส) ?

  1. ร่องระหว่างคิ้ว ควรใช้สารโบทูลินั่มท๊อกซิน ฉีดเพื่อแก้ปัญหาทดแทน
  2. จมูก
  3. ปาก ควรใช้สารเติมเต็มแก้ปัญหาแทน
  4. รอบดวงตา ควรใช้สารเต็มเติมแก้ปัญหาแทน

Radiesse (เรเดียส) ไม่เหมาะกับใคร ?

  1. มีประวัติการใช้ยากลุ่ม NSAID ยากดภูมิคุ้มกัน หรือ corticosteriods มานาน
  2. มีปัญหาสุขภาพจิต
  3. มีโรคทางระบบประสาทสัมผัสในการรับรู้ที่ไม่ดีนัก
  4. ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือ ให้นมบุตรอยู่
  5. คนไข้โรคเบาหวาน โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคเริม หรือ โรคลมชัก
  6. มีประวิติแพ้ยาชา Lidocaine
  7. มีประวิติเคยแพ้สารบางชนิดอย่างรุนแรง (Anaphylaxis) มาก่อน เช่น เคยมีผื่นลมพิษ แน่นหร้าอก ความดันโลหิตต่ำ เป็นต้น
  8. มีการอักเสบที่ผิวหนัง เช่น ผิวหนังที่มีผื่นขึ้น ถุงซีสต์ สิว ผื่น หรือลมพิษ การติดเชื้อ หรือเนื้องอกในบริเวณใกล้เคียงจนกว่าจะสามารถควบคุมอาการได้
  9. ผู้ที่เคยเกิดหรือไวต่อการเกิดคีลอยด์หรือแผลเป็นนูน
  10. ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติหรือผู้ที่มีการใช้สารที่ส่งผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือด ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด อาจเกิดอาการฟกช้ำ ห้อเลือด หรือมีเลือดออกเฉพาะที่ได้
  11. ผู้ที่ใจร้อน ต้องการเห็นผลการรักษาทันที เนื่องจากการฉีด Radiesse (เรเดียส) ต้องใช้เวลาให้ร่างกายค่อย ๆ กระตุ้นคอลลาเจน

Radiesse (เรเดียส) อันตรายหรือไม่ ?

สาร CaHA ซึ่งเป็นสารประกอบหลักใน Regenerative Biostimulator มีการใช้ทางการแพทย์มานานกว่า 25 ปี และเป็นสารที่พบได้ในร่างกายโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ไม่ใช่สิ่งแปลกปลอม ดังนั้น synthetic CaHA จึงมีความปลอดภัยสูง เข้ากันได้กับร่างกาย และสามารถสลายไปตามธรรมชาติด้วยระบบ normal homeostatic mechanisms ของร่างกายตามปกติ ได้เป็น calcium และ Phosphate ion

นอกจากนี้ยังได้รับการรับรองมาตรฐานและความปลอดภัยจากหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย

  • 2004 ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของกลุ่มประเทศยุโรป
  • 2006 ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา
  • 2023 ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของประเทศไทย
  • มีงานวิจัยรองรับมากกว่า 245 ฉบับ

วิธีเตรียมตัวก่อนฉีด Radiesse (เรเดียส)

  1. งดฉีดหรือทำหัตถการอื่นบนใบหน้า (หรือบริเวณที่ต้องการฉีด) ก่อนมาฉีด ประมาณ 2-4 สัปดาห์
  2. ควรดูแลสุขภาพให้พร้อมสมบูรณ์ด้วยการนอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  3. งดสูบบุหรี่
  4. งดดื่มแอลกอฮอล์ 1-3 วัน ก่อนฉีด
  5. งดทานยาละลายลิ่มเลือด เช่น แอสไพริน วาร์ฟาริน หรือ วิตามินที่อาจทำให้เลือดออกได้ง่าย เช่น วิตามินอี น้ำมันปลา น้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส สารสกัดจากใบแปะก๊วย อย่างน้อย 1 สัปดาห์ ก่อนทำการรักษาเพราะอาจทำให้เกิดการช้ำได้
  6. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เนื่องจากจะช่วยเอื้อต่อการสร้างคอลลาเจนให้กับเซลล์ใหม่เป็นไปได้ด้วยดี

ฉีด Radiesse (เรเดียส) ใช้เวลานานเท่าใด ?

ใช้เวลาการรักษานานประมาณ 1-2 ชั่วโมงครับ

ความรู้สึกขณะฉีด Radiesse (เรเดียส) เป็นอย่างไร เจ็บหรือไม่ ?

ขณะทำการรักษาความรู้สึกจะแสบ หน่วงเล็กน้อยขณะฉีดตัวยา แต่สามารถทนได้ครับ ซึ่งเราจะมีการใช้ยาชาเพื่อเพิ่มความสบาย ลดความรู้สึกเจ็บได้ดีครับ

หลังฉีด Radiesse (เรเดียส) จะเป็นอย่างไร ?

หลังทำทันทีจะมีอาการแดง บวม ช้ำ เล็กน้อย ประมาณ 3-5 วันแรก อาการเหล่านี้จะหายกลับมาปกติได้เองครับ

ควรใช้ Radiesse (เรเดียส) ปริมาณยาขนาดเท่าไหร่ (ฉีดกี่กล่อง) ห่างนานขนาดไหน ?

ปริมาณและระยะห่างที่แนะนำคือ

  • เพื่อผลลัพธ์ที่ดี โดยเฉลี่ยใช้ 2 กล่อง/ครั้ง
  • แต่ละครั้งควรห่างกัน 4-6 สัปดาห์
  • ฉีดต่อเนื่อง 1-3 ครั้ง (ขึ้นกับปัญหาผิว ความหย่อนคล้อย และ ความเสียหายของคอลลาเจน)

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัญหา สภาพผิว และความต้องการของคนไข้ ก่อนทำหมอจะมีการประเมินก่อนทุกเคส ว่าควรใช้ปริมาณายาที่จะใช้กี่กล่องต่อครั้ง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และจำเป็นต้องกลับมาติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินการตอบสนองการกระตุ้นคอลลาเจนของร่างกายครับ

วิธีปฏิบัติตัวหลังฉีด Radiesse (เรเดียส)

วิธีปฏิบัติหลังฉีด Radiesse

24 ชั่วโมงหลังฉีด

  1. หลีกเลี่ยงการจับ ลูบคลำในบริเวณที่ผิวหนังเปิด จนกว่าผิวหนังจะปิดสนิทดี หากรู้สึกว่ามีก้อนใต้ผิวหนังที่ฉีด สามารถนวดบริเวณที่เป็นก้อนเพื่อช่วยลดอาการได้
  2. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอาและครีมบำรุงภายใน 12 ชั่วโมงแรก

1 สัปดาห์หลังฉีด

  1. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ หรือกิจกรรมที่จะทำให้เหงื่อออกเป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์
  2. หลีกเลี่ยงนอนคล่ำหน้า อย่างน้อย 1 สัปดาห์
  3. สามารถประคบเย็นเพื่อลดอาการบวมและช้ำได้ตามที่ต้องการ

2 สัปดาห์หลังฉีด

               หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยความร้อน เช่น ซาวน่า และการสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานาน

1 เดือนหลังฉีด

               พบแพทย์เพื่อประเมินผลการรักษา และ อาจมีการฉีดเพิ่มในกรณีที่จำเป็น

**หลังฉีด คนไข้อาจเพิ่มการรับประทานอาหารเสริมที่ช่วยเรื่องของการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน เช่น โปรตีน วิตามินซี คอลลาเจนเปปไทด์ เพื่อช่วยเสริมการทำงานของ Regenerative Biostimulator

ฉีด Radiesse (เรเดียส) แล้วอยู่ได้นานแค่ไหน ระยะเวลาในการเห็นผล และเห็นผลทันทีเลยหรือไม่ ?

 ช่วงแรก : เห็นผลลัพธ์หลังทำทันทีจากตัวปริมาตรจากสารอุ้มน้ำครับ

– ผลที่เราต้องการกระตุ้นคอลลาเจนจะเริ่มที่ประมาณหลังฉีด 1 เดือนเป็นต้นไป : เริ่มเห็นผลหลังทำการรักษาประมาณ  3-4 สัปดาห์หลังฉีด และจะค่อยๆเห็นผลลัพธ์อย่างต่อเนื่องไปยาวนานถึง ประมาณ 2 ปี –> ควรฉีดตามปริมาณที่แนะนำ

– ประมาณ 3-6 เดือนหลังฉีด : ผลลัพธ์ในการกระตุ้นคอลลาเจนจะชัดเจนที่สุด (Optimal effect) ครับ

-เพื่อผลการรักษาที่ดีอย่างต่อเนื่อง แนะนำให้ทำอย่างน้อย ปีละ 2-3 ครั้ง

กลไกการทำงาน เรเดียส
ผลงานวิจัย เรเดียส

ทำไมการฉีด Radiesse (เรเดียส) จึงเห็นผลค่อนข้างช้า ?

ถ้าหากเปรียบเทียบกับการทำศัลยกรรมซึ่งเป็นแบบ Invasive คือ ขั้นตอนทางการแพทย์ที่ต้องผ่า ใส่เครื่องมือเข้าสู่ร่างกาย แน่นอนการทำศัลยกรรมจะเห็นผลที่ค่อนข้างชัดเจน แต่หลังจากการศัลยกรรมผลที่ตามมาคือต้องใช้ระยะเวลาในการพักฟื้น การดูแลรักษาแผลที่ผ่าตัด ถ้าดูแลไม่ดีทำให้มีการติดเชื้อ และ มีแผลเป็นได้ครับ

แต่ในส่วนของการทำ Regenerative Biostimulator ซึ่งเป็นอนุภาคของสาร CaHa เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายแล้ว จะกระตุ้นให้มีการผลิตคอลลาเจนธรรมชาติของตัวเองเพิ่มมากขึ้น ผลการรักษาจะเป็นไปตามระบบกลไกของร่างกายซึ่งใช้เวลาตามลำดับหลายเดือนครับ

รีวิว ผลลัพธ์หลังฉีด Radiesse (เรเดียส)

Radiesse เรเดียส รีวิว
Radiesse เรเดียส รีวิว
Radiesse เรเดียส รีวิว
Radiesse เรเดียส รีวิว
Radiesse เรเดียส รีวิว
Radiesse เรเดียส รีวิว

Radiesse (เรเดียส) ของแท้ดูอย่างไร ?

สิ่งสำคัญในการฉีดเรเดียส คือ ควรเลือกฉีดในคลินิกที่ได้มาตรฐาน สามารถตรวจสอบของแท้ได้ก่อนฉีด และฉีดกับแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมจากบริษัทเมิร์ซ เอสเธติกส์ (ประเทศไทย) ผู้ถือลิขสิทธิ์เรเดียส เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนและคุ้มค่าสูงสุดครับ

เรเดียสของแท้ วิธีตรวจสอบ
วิธีตรวจสอบเรเดียสของแท้

หากไม่แน่ใจว่าตัวเองเหมาะกับการฉีดเรเดียสหรือไม่ ก็สามารถนัดคิวเข้ามาปรึกษาก่อนตัดสินใจได้ที่ Line Official @theprimaclinic (มี @ ข้างหน้า) หรือ คลิกที่ปุ่มสีเขียวด้านล่างนี้ครับ

Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Twitter

Reference

  1. Yutskovskaya Y et al.,J Drugs Dermatol. 2020;19(4):405-411.
  2. Yutskovskaya Y et al., J. Drugs Dermatol. 2017;16(1):68-734.
  3. González, N. & Goldberg, DJ. Dermatol Surg 2019;45(4):547-551.
  4. Yutskovskaya Y et al., J Drugs Dermatol. 2014;13(9):1047-1052.
  5. Shalak OV et al., Bulletin of the North-Western State Medical Univ. 2022;14:43-52.
  6. Yutskovskaya Y et al., J. Drugs Dermatol. 2017;16(1):68-734.
  7. de Almeida AT et al, Plast Reconstr Surg Glob Open. 2019;7(3):e2160.
  8. Bass LS et al,. Aesthet Surg J. 2010;30(2):235-238.
  9. Pavicic T. Clin Cosmet Investig Dermatol. 2015;8:19-25.

สาระความงามที่เกี่ยวข้อง

Leave a comment